วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

การปลูกเลี้ยงช้าง


 ช้าง(Rhybchostylis) มีถิ่นกำเนิดอยู่ใน ภูมิภาคแถบไทย พม่า ประเทศในแถบอินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย ศรีลังกา ภาคใต้ของหมู่เกาะในทะเลจีน และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก กล้วยไม้สกุลช้างมีการเจริญเติบโตแบบฐานเดี่ยว ใบเป็นร่อง หน้าตัดของใบรูปตัววี สันล่างของใบเห็นได้ชัด ใบอาจมีหรือไม่มีเส้นใบเป็นเส้นขนานสีจาง ๆ หลาย ๆ เส้นตามความยาวของใบปลายใบหยักมน หรือเป็นฟันแหลมไม่เท่ากัน รากเป็นประเภทรากอากาศ คือเป็นรากที่มีขนาดใหญ่ แขนงรากใหญ่ ปลายรากมีสีเขียวซึ่งสามารถปรุงอาหารด้วยวิธีสังเคราะห์ด้วยแสงได้ ช่อดอกอาจห้อยลงหรือตั้งขึ้น ความยาวของช่อดอกเกือบเท่า ๆ กับความยาวของใบมีดอกเป็นจำนวนมากแน่นช่อดอก กลีบนอกและกลีบในของดอกแผ่ออก อาจมีจุดหรือ
ไม่มีจุดสีม่วงหรือสีน้ำเงินก็ได้ ขนาดของกลีบนอกโตกว่ากลีบใน เส้าเกสรสั้น ปากไม่มีีข้อพับ ปลายปากไม่หยัก หรือหยักเป็นลอนเล็ก ๆ 3 ลอน ปลายปากชี้ตรงไปข้างหน้า ปากเชื่อมต่อกับฐานสั้น ๆ ของเส้าเกสร จึงดูเหมือนว่าไม่มีฐานของเส้าเกสร เดือยของดอกแบน ชี้ตรงไปข้างหลัง มีอับเรณู 2 ก้อน แยกออกจากกัน ออกดอกปีละครั้ง บางต้นอาจมีดอกครั้งละหลาย ๆ ช่อ
 กล้วยไม้สกุลช้างพบอยู่ตามธรรมชาติเพียง 4 ชนิดเท่านั้น คือ
        
    ช้าง(Rhybchostylis gigantean
    ไอยเรศหรือพวกมาลัย (Rhybchostylis retusa)
    เขาแกะ (Rhybchostylis coelestis
    ช้างฟิลิปปินส์ (Rhybchostylis violacea)



    ลักษณะเฉพาะของแต่ละชนิด
    1. ช้าง (Rhybchostylis gigantean)

         ถิ่นกำเนิดของกล้วยไม้ช้างมีทั้งในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น หนองคาย มุกดาหาร สกลนคร เลย นครราชสีมา ต่ำลงมาจนถึงตอนเหนือของภาคกลางเช่น นครสวรรค์ ชัยนาท และภาคตะวันออก เช่น ปราจีนบุรีและยังพบแถบจังหวัดกาญจนบุรีด้วย พบขึ้นในป่าที่ระดับความสูงประมาณ 260-350 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในต่างประเทศพบที่พม่า ตอนใต้ของจีน ประเทศในแถบอินโดจีน อินโดนีเซีย และหมู่เกาะทะเลจีนใต้
    ลักษณะของช้างนั้นเป็นกล้วยไม้ที่ ใบหนาค่อนข้างแข็ง ยาวประมาณ25-30 เซนติเมตร กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ปลายใบเป็นแฉก 2 แฉกมน และสองแฉกของใบไม่เท่ากัน รากเป็นรากอากาศ มีขนาดใหญ่ ปลายรากมีสีเขียว ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกโค้งพองาม ช่อดอกยาวประมาณ 20-40เซนติเมตร มีดอกแน่นช่อ ช่อละ 25-60 ดอก ขนาดดอกประมาณ2.5-3.0 เซนติเมตร กลีบนอกบนกว้างประมาณ 0.8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตรซึ่งในปัจจุบันมีฟาร์มกล้วยไม้และนักพัฒนาสายพันธุ์ได้พยายามผสมให้มีขนาดดอกที่ใหญ่ขึ้น กระบอกช่อยาวขึ้นและความแน่นของดอกให้มีความหนาแน่นเป็นอย่างมาก ซึ่งหวังว่าประเทศไทยจะพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไม้พันธุ์นี้ให้มีคุณภาพยิ่งๆขึ้นไป ส่วนกลีบนอกล่างทั้งคู่กว้างยาวพอ ๆ กันกับกลีบนอกบน หรือกว้างกว่าเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่อยู่ใกล้โคนกลีบ กลีบในกว้างประมาณ 0.5เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.4 เซนติเมตร ปลายกลีบเป็นส่วนที่กว้างที่สุด เดือยดอกยาวประมาณ 0.6-0.7 เซนติเมตร สองข้างเบนเข้าหากัน แผ่นปากยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร ตอนใกล้ปลายกว้างประมาณ 0.7 เซนติเมตร ปลายแผ่นปากหนา และแข็ง อยู่ในลักษณะเหยียดตรงไปข้างหน้า ปลายปากมี 3 แฉก สองแฉกข้างมน แฉกกลางมน และมีขนาดเล็กกว่ามาก ใกล้โคนปากด้านบนมีสันนูนเตี้ย ๆ 2 สัน ดอกมีกลิ่นหอมฉุน หอมไกล ดอกบานในระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์และบานทนได้ประมาณสองหรือสามสัปดาห์การที่ช้างเป็นกล้วยไม้ที่มีลำต้น ใบ ราก ช่อดอก และดอกใหญ่กว่าชนิดอื่น ๆ

    ช้างในปัจจุบันในตลาดได้เรียกชื่อตามสีสันของดอก แบ่งเป็น
    1. ช้างแดง
    2. ช้างเผือก
    3. ช้างกระ
    4. ช้างการ์ตูน
    5. ช้างประหลาด เป็นลูกผสมระหว่างช้างแดงและช้างกระ
    6. ช้างส้ม
    การปลูกเลี้ยง
    เนื่องจากกล้วยไม้ช้างมีรากเป็นแบบรากอากาศ จึงไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปลูก โดยอาจนำช้างติดกับขอนไม้หรือใส่กระเช้าไม้สักปลูกก็เพียงพอแล้ว กล้วยไม้ช้างถ้าหากให้ปู๋ยและน้ำไม่สมบูรณ์จะทำให้เกิดอาการทิ้งใบได้ อาการนี้ควรระวังให้ดีครับ เพราะถ้าช้างทิ้งใบมากๆมันจะดูไม่สวยงามเพราะใบเขาจะไม้ออกมาใหม่ตรงโคนแล้วนะครับ เวลารดน้ำควรสังเกตุดูเพราะจะแตกต่างจากการเลี้ยงหวายนะครับ เนื่องจากช้างไม่มีเครื่องปลูกให้เก็บความชื้น ควรรดให้ชุ่มสักหน่อย ช่วงหน้าร้อนควรรดน้ำทั้งเช้าและเย็นนะครับ การใส่ปุ๋ยก็ใส่สูตรเสมอเป็นหลักในหนึ่งเดือนอาจใส่สูตรเสมอสักสองหรือสามครั้งแล้วสูตรกลางหรือท้ายสูงสลับไปครับ สำหรับยากันเชื้อราก็ควรฉีดอย่างสม่ำเมสอทุก7วัน เมื่อถึงเวลาหน้าฝนจะทำให้ต้นกล้วยไม้เราแข็งแรงเป็นโรคยาก การเปลี่ยนกระถางกล้วยไม้ช้างเนื่องจากกล้วยไม้ช้างมีรากที่ยึดแน่นอย่างกับกระถางเก่าดังนั้นควรนำไปแช่น้ำเพือให้รากดูดน้ำเข้าไปและนิ่มจะสามารถแกะออกจากกระถางเก่าแล้วย้ายไปติดตอไม้หรือกระเช้าได้ดี กล้วยไม้ช้างจะได้ไม่พักตัวนานหากรากเกิดการเสียหาย


    2. ไอยเรศหรือพวงมาลัย (Rhybchostylis retusa)

         ไอยเรศเป็นกล้วยไม้ป่าพันธุ์แท้ที่มีถิ่นกำเนิดกระจายไปทั่วประเทศ ในต่างประเทศมีพบที่ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน พม่า จีน ประเทศแถบอินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และหมู่เกาะบอร์เนียวในประเทศไทยพบอยู่ในป่าระดับความสูงตั้งแต่ประมาณ 150-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ปลูกเลี้ยงได้ง่ายให้ดอกทุกปี และชอบแสงแดดมากกว่ากล้วยไม้ช้าง

          ไอยเรศมีลำต้นใหญ่แข็งแรงคล้ายกับกล้วยไม้ช้าง แต่ใบยาวกว่าและแคบกว่า คือใบขายประมาณ 40 เซนติเมตร กว้าง 4 เซนติเมตรมีทางสีเขียวแก่สลับกับสีเขียวอ่อนตามอความยาวของใบคล้ายกล้วยไม้ช้าง โค้งห้อยลง ยาว 30-50 เซนติเมตร ก้านช่อยาวถึง 10 เซนติเมตร มีดอกแน่นช่อ ในหนึ่งช่อมีดอกประมาณ 150 ดอกมากกว่ากล้วยไม้ช้างรูปร่างลักษณะของช่อดอกที่ยาวเป็นรูปทรงกระบอกคล้ายกับลักษณะของพวงมาลัย จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "พวงมาลัย" ต้นใหญ่ ๆ มักจะแตกหน่อที่โคนต้น เกิดเป็นกอเป็นกอใหญ่ขึ้นได้  สีพื้นของกลีบนอกและกลีบในของดอกเป็นสีขาว มีจุดสีม่วงประปราย กลีบนอกบนยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.7 เซนติเมตร กลีบนอกล่างกว้าง ประมาณ 1.0 เซนติเมตร กลีบในยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.6 เซนติเมตร เดือยดอกมีสีม่วงอ่อน สองข้างเบนเข้าหากันยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตร แผ่นปากยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร มีลักษณะโค้งขึ้นบนแล้วยื่นไปข้างหน้า โคนแผ่นปากกว้าง 0.5 เซนติเมตร ตรงใกล้กับปลายแผ่นปากกว้าง 0.8 เซนติเมตร มีแต้มสีม่วงตรงกลางแผ่นปากส่วนโคนและปลายสุดของแผ่นปากเป็นสีขาว ปลายแผ่นปากเว้า เส้าเกสรเห็นชัด ฤดูออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ดอกจะบานอยู่ได้ประมาณสองสัปดาห์ไอยเรศเผือกคือไอยเรศที่มีดอกสีขาว ไม่มีสีม่วงปะปนอยู่เลย ซึ่งหาได้ยากการปลูกไอยเรศอาจเกาะไว้กับกิ่งหรือท่อนไม้ในบริเวณที่ได้รับแสงแดด หรือจะปลูกลงกระเช้าไม้ แขวนไว้ในบริเวณที่ได้รับแสงแดดเพียงพอคือควรให้ได้รับแสงแดดมากกว่ากล้วยไม้ช้างเล็กน้อย และควรปลูกในราวเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ซึ่งเป็นระยะปลายฤดูแล้ง ต้นฤดูฝน เนื่องจากรากกำลังเติบโตดี

    3. เขาแกะ (Rhybchostylis coelestes)


         เขาแกะมีถิ่นกำเนิดกระจายอยู่ทุกภาค โดยทั่วไปมักจะพบขึ้นในป่าโปร่งผลัดใบทั้งในภูมิภาคที่เป็นภูเขาและที่ราบ ในต่างประเทศมีรายงานว่าพบในลาวและกัมพูชา
    การปลูกเลี้ยงทำได้ง่าย ทนแล้งได้ดี ชอบแสงแดดและอากาศถ่ายเทมากกว่าไอยเรศและช้าง อาจปลูกติดไว้กับต้นไม้ ท่อนไม้ หรือปลูกลงกระเช้าไม้ก็ได้เขาแกะเป็นกล้วยไม้ชนิดเดียวในสกุลช้างที่มีลักษณะช่อดอกตั้งขึ้นใบมีลักษณะแบน ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร และบางกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โคนใบซ้อนกันเป็นแผง ใบโค้งสลับกันในทางตรงกันข้าม ด้วยลักษณะเช่นนี้เองจึงได้ชื่อว่า "เขาแกะ" ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีดอกแน่นช่อ ดอกมีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบดอกทั้งกลีบนอกและกลีบในมีพื้นสีขาว มีแต้มสีม่วงครามที่ปลายกลีบทุกกลีบ ฐานของแผ่นปากและครึ่งหนึ่งของแผ่นปากที่ต่อกับฐานมีสีขาว ส่วนอีกครึ่งหนึ่งของแผ่นปากเป็นสีม่วงครามเช่นเดียวกับที่ปลายกลีบ แต่สีเข้มกว่า ปากของเขาแกะคล้ายกับปากของไอเรศ สีม่วงครามของเขาแกะบางต้นอาจจะแปรเปลี่ยนไปได้ เช่น เปลี่ยนไปทางสีม่วงมากจนเกือบจะแดง จึงเรียกว่า "เขาแกะแดง" บางต้นก็แปรเปลี่ยนไปทางสีฟ้าหรือสีน้ำเงินก็มี เดือยดอกยาวกว่าและแคบกว่าของไอยเรศ ปลายของเดือยดอกโค้งลง

         ฤดูออกดอกประมาณเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ดอกบานทนประมาณสองสัปดาห์ มีผู้นำเขาแกะไปผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้ชนิดอื่นอีกหลายชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้ในสกุลใกล้เคียงกับกล้วยไม้สกุลแวนดา เนื่องจากปลูกเลี้ยงได้ง่าย ช่อดอกตั้ง สีของดอกเป็นสีม่วงครามหรือใกล้ไปทางสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีที่หาได้ยากในกล้วยไม้ทั่ว ๆ ไป ถ้าได้มีการพัฒนาลูกผสมเขาแกะต่อ ๆ ไปอีก ก็อาจจะได้กล้วยไม้พันธุ์ใหม่ที่มีเลือดเขาแกะ เป็นไม้ตัดดอกหรือเป็นประเภทสวยงามก็ได้
    ปุ๋ยสำหรับกล้วยไม้สกุลช้างนั้น เราจะเน้นสูตรเสมอเป็นหลัก โดยจะใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 18-18-18 ,20-20-20,21-21-21 + ยาเร่งราก เช่น วิตามินB1 ฉีดพ่น อาทิตย์ละ 1ครั้ง สลับกับ ปุ๋ย เร่งดอก สำหรับกล้วยไม้สกุลช้าง เราจะใช้ 16-21-27,13-27-27 +ยาเร่งรากเช่นวิตามิน B1พ่นสลับ โดยจะฉีดพ่นปุ๋ยสูตรเสมอ 2-3ครั้ง สลับกับ ปุ๋ยเร่งดอก 1 ครั้ง วนไปเรื่อยๆ จนถึงเดือนกันยายน ให้ ปุ๋ย เร่งดอก สูตร 10-52-17 สัก 2ครั้งติดๆกัน 2อาทิตย์ เพื่อเป็นการกระตุ้นและเตรียมพร้อมให้กล้วยไม้สกุลช้าง ให้ดอกเราในเดือนพฤศจิกายน แล้วให้ปุ๋ยสูตร 16-21-27,13-27-27,9-27-34  ตามอีกสัก2ครั้ง แล้วมาเริ่ม ใส่ ปุ๋ยสูตรเสมอ วนสลับกับปุ๋ยสูตร 16-21-27,13-27-27,9-27-34 ตามเดิม แค่นี้กล้วยไม้สกุลช้างก็จะออกดอก ที่สวยงามมาชมกันทุกปีครับ การใส่ปุ๋ยของกล้วยไม้ช้างนั้นอาจจะใส่ให้เจือจางกว่าใส่หวายประมาณ 2/3 จะไม่ทำให้รูปทรงบิดเบี้ยว ใบหักและการแขวนกล้วยไม้ช้างนั้นควรแขวนให้ปลายใบหันจากทิศตะวันออกไปตะวันตกครับ

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น