วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ส่วนประกอบของดอก

 กลีบเลี้ยง (sepal)
                             กลีบเลี้ยงเรียบตัวอยู่รอบนอกสุด จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อคว่ำดอกดูบาง ชนิด กลีบเลี้ยง ทั้งสามมีลักษณะคล้ายกัน และหลายชนิดมีกลีบเลี้ยงที่มีลักษณะแตกต่างกัน คือ แยกเป็นกลีบเลี้ยงบน (dorsal sepal) อยู่ในตำแหน่งหลังเส้าเกสร และกลีบเลี้ยงด้านข้าง (lateral sepal) 2 กลีบ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน แต่อาจจะต่างจากกลีบเลี้ยงบน และบางสกุลกลีบเลี้ยงด้านข้างเชื่อมติดกันหรือบางสกุลกลีบเลี้ยงทั้งสามเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ หลายแยกเป็นแฉก                                                                                                                       

 

กลีบดอก (petal)
                              กลีบดอกเรียงตัวเป็นชั้นถัดเข้าไปจากชั้นกลีบเลี้ยง ประกอบด้วยกลีบดอกด้านข้าง (lateral petals) ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน ส่วนกลีบดอกอีก 1 กลีบนั้นมีลักษณะที่แตกต่างจากกลีบดอกด้านข้างอย่างชัดเจน นิยมเรียกกันว่า กลีบปาก (lip) บางคนเรียกกลีบกระเป๋าซึ่งมักจะเป็นส่วนเด่นที่สุดของดอก มีความหลากหลายหรือวิจิตพิสดารต่าง ๆ กันไปตามสกุลและชนิด เช่น เป็นแผ่นที่แยกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงโคนกลีบปาก (hypochile) กับช่วงปลายกลบีปาก (epichile) ซึ่งทั้งสองช่วงมักจะมีลักษณะต่างกัน หรือแยกเป็น 3 ส่วน มีช่วงกลางหรือช่วงคอกกลีบปาก (mesochile) เพิ่มขึ้น ช่วงโคนกลีบปากบางชนิดมีหูกลีบปาก (slide lobe) และช่วงปลายกลีบปากหลายชนิดหยักเว้าหรือพับจีบ หรือมีชายครุย ทางด้านบนแผ่นกลับปากอาจจะมีสัน (kell) เป็นแนว หรือตุ่มเนื้อเยื่อ (callus) ลักษณะต่างๆ กันนอกจากนั้นช่วงโคนหรือใกล้โคน หรืออาจจะเป็นส่วนใหญ่ ของกลีบปากยังมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นถุง (saccate) หรือเป็นเดือย (spur) ซึ่งมีลักษณะและขนาดแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดกลีบปากของกล้วยไม้ส่วนใหญ่มักจะอยู่ทางด้านล่างของดอก (resupinate) ซึ่งเกิดจากการบิดตัวของดอกในระยะที่เป็นดอกอ่อน อีกพวกมีกลีบปากอยู่ทางด้านบน (nonresupinate)


       
 ปาก (LIP)
               ปาก (Lip) ซึ่งทั้งสองช่วงมักจะมีลักษณะต่างกัน หรือแยกเป็น 3 ส่วน มีช่วงกลางหรือช่วงคอกกลีบปาก (mesochile) เพิ่มขึ้น ช่วงโคนกลีบปากบางชนิดมีหูกลีบปาก (slide lobe) และช่วงปลายกลีบปากหลายชนิดหยักเว้าหรือพับจีบ หรือมีชายครุย ทางด้านบนแผ่นกลับปากอาจจะมีสัน (kell) เป็นแนว หรือตุ่มเนื้อเยื่อ (callus) ลักษณะต่าง ๆ กันนอกจากนั้นช่วงโคนหรือใกล้โคน หรืออาจจะเป็นส่วนใหญ่ของกลีบปากยังมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นถุง (saccate) หรือเป็นเดือย (spur) ซึ่งมีลักษณะและขนาดแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดกลีบปากของกล้วยไม้ส่วนใหญ่มักจะอยู่ทางด้านล่างของดอก (resupinate) ซึ่งเกิดจากการบิดตัวของดอกในระยะที่เป็นดอกอ่อน อีกพวกมีกลีบปากอยู่ทางด้านบน (nonresupinate)



  เส้าเกสร (staminal column)
เส้าเกสร

             ส่วนที่สำคัญและเป็นลักษณะเฉพาะของกล้วยไม้ คือ เส้าเกสร ซึ่งเป็นที่รวมของวงหรือชั้นเกสรเพศผู้และส่วนของเกสรเพศเมียเข้าไว้ด้วยกัน มีลักษณะเป็นแท่งอยู่ตรงกลางดอก ส่วนบนสุดมักจะมีฝาเล็ก ๆ (anther cap หรือ operculum) ปิดคลุมกลุ่มเรณูไว้ ต่ำลง มาทางด้านหน้าของเส้าเกสรซึ่งหันข้าสู่กลีบปาก มีแอ่งเว้าลึกเข้าไปในเส้าเกสร ภายในมีน้ำเหนียว ๆ คือส่วนยอดของเกสรเพศเมีย (stigma) ซึ่งมีลักษณะและตำแหน่งที่อยู่เปลี่ยนแปลงไป ต่างจากดอกไม้ชนิดอื่น ๆ ซึ่งปกติอยู่ที่ยอด เหนือส่วนเว้าที่เป็นแอ่ง ในกล้วยไม้บางกลุ่มอาจจะมีการเจริญของเนื้อเยื่อออกไปเป็นจะงอย (rostellum) ซึ่งนับเป็นส่วนของเกสรเพศเมียที่เป็นหมัน ส่วนด้านข้างของยอดเส้าเกสรทั้งสองข้างก็อาจจะมี stylid ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นหรือเป็นแผ่น โคนเส้าเกสรก็เช่นเดียวกัน บางกลุ่มมีการเจริญของเนื้อเยื่อโคนเส้าเกสรยืดออกไปเป็นคาง (mentum) กลีบเลี้ยงคู่ข้างในบางชนิดจะติดอยู่ 2 ข้างของส่วนที่ยืดออกไปนี้ และกลีบปากติดที่ปลายสุด ซึ่งเมื่อดูจากภายนอกจะเห็นคล้ายๆ เป็นถึงเส้าเกสรมีรูปลักษณ์ต่างๆ กันในแต่ละชนิดหรือแต่ละสกุล และใช้ในการจัดจำแนกกล้วยไม้ได้


อับเรณู (anther)
คลิกดูภาพอับเรณู
 อับเรณูของกล้วยไม้ส่วนใหญ่มีเพียง 1 อัน (ยกเว้นวงศ์ย่อย Apostasioideae และ Cypripedioideae ซึ่งมีจำนวน 3 และ 2 อัน ตามลำดับ) ติดอยู่ที่ส่วนบนสุดของเส้าเกสรมีฝาครอบกลุ่มเรณูที่มักจะหลุดร่วงง่าย (ยกเว้นในวงศ์ย่อย Neottioideae และ Orchidioideae ที่ฝาปิดกลุ่มเรณูไม่หลุดร่วง แต่จะแตกตามยาว) อับเรณูในแต่ละสกุลมีจำนวนกลุ่มละอองเรณูต่างๆ กัน ตั้งแต่ 2 ไปจนถึง 8 กลุ่ม มีทั้งแบบที่ละอองเรณูแต่ละกลุ่มเป็นอิสระ และแบบที่ยึดติดกันแน่นกับแผ่นบางใส เรียกชุดกลุ่มเรณู (pollinarium) รูปแบบต่าง ๆ กัน ส่วนแผ่นหรือแถบเยื่อที่คล้ายก้านยึดติดกับกลุ่มเรณู เรียกว่าก้านกลุ่มเรณู (caudicle หรือ stipe) ที่ปลายอีกด้านของแผ่นเยื่อมักจะแผ่นแบนเป็นแป้นหรือเป็นตุ่ม และมีสารเหนียว ๆ ซึ่งทำให้ชุดกลุ่มละอองเรณูเกาะติดไปกับหัวหรือขาของแมลงที่มาที่ดอกกล้วยไม้ได้โดยง่าย เรียกปุ่มหรือแป้นก้านกลุ่มเรณู (viscidium)


รังไข่ (ovary)
                  ส่วนล่างสุดต่ำกว่าเส้าเกสร คือ รังไข่ ซึ่งอยู่ใต้ขั้นวงกลีบและต่อเนื่องไปกับก้านดอกแต่มักจะเห็นขอบเขตได้ค่อนข้างชัดเจน คือบริเวณที่เป็นรังไข่มักจะป่องพองกว่าส่วนที่เป็นก้านดอก และมักจะมีร่องตามยาว 3-6 ร่อง ภายในรังไข่มีออวุล (ovule) ขนาดเล็กจนเกือบเป็นผงจำนวนมากมายนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับดอกอีกส่วนหนึ่ง คือส่วนที่เรียกว่าใบประดับ (bract) และใบประดับย่อย (bracteole) อยู่ตรงบริเวณที่ก้านดอกหรือก้านดอกย่อยต่อกับต้นหรือแกนช่อดอก ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของกล้วยไม้บางชนิด เช่น เอื้องเต่าทอง Eria ornata(Blume) Lindl. 



ช่อดอกและการเรียงตัวของดอก

คลิกดูภาพขยาย
คลิกดูรูปขยาย 
    เมื่อเจริญสมบูรณ์เต็มที่ กล้วยไม้จะสร้างดอกเพื่อสืบพันธุ์ จุดที่ช่อดอกแตกออกมานั้นมีทั้งจากปลายยอด จากซอกใบใกล้ปลาย ยอด จากข้อตามลำต้น หรือที่โคนข้างลำต้น ช่อดอกมีทั้งที่เป็นช่อหรือดอกเดี่ยวลักษณะช่อดอกมีทั้งตั้งขึ้นจนถึงห้อยลงกล้วยไม้ดินโดย ส่วน ใหญ่จะ ออกดอก เป็นช่อจากปลายยอด ได้แก่ สกุลนางอั้ว (Habenaria spp.) สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum  spp.) สกุล นางอั้วสาคริก (Pecteilis  spp.) สกุลนางตาย (Peristylus  spp.) ที่ออกดอกตามข้อใกล้ปลายยอด อาทิ เอื้องสีลา (Corymborkis veratrifolia ) บางชนิดในสกุลเอื้องพร้าว (Phaius  spp.) หรือบางชนิดออกดอกจากโคนลำต้นหรือข้างลำลูกกล้วย เช่น สกุลนกแก้วปากหงาย (Acanthephippium  spp.) สกุลเอื้องน้ำต้น (Caloanthe  spp.) และสกุลเอื้องสีลา (Tainia  spp.) ฯลฯ กล้วยไม้อิงอาศัยที่มีการเจริญ ทางยอด ส่วนใหญ่แตกช่อดอกออกตามข้อโดยออกตรงข้ามกับใบ เช่นสกุลงูเขียว (Luisia  spp.) สกุลเอื้องแมงมุม (Thrixspermum  spp.) หรือออกตามซอกใบ เช่น สกุลเข็ม (Ascocentrum  spp.) สกุลฟ้ามุ่ย (Vanda  spp.) กล้วยไม้อิงอาศัยที่มีการเจริญทางข้าง จะแตกช่อดอกได้หลายจุด เช่น ออกเป็นช่อจากโคนลำลูกกล้วย ได้แก่ สกุลสิงโต (Bulbophyllum  spp.) สกุลกระสวย (Panisia  spp.) สกุลกะเรกะร่อน (Cymbidium  spp.) ฯลฯ หรือที่เป็นดอกออกเดี่ยว ๆ จากโคนลำลูกกล้วย เช่น บางชนิดในสกุลสิงโต (Bulbophyllum  spp.) หรืออกดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อตามข้อใกล้ปลายยอดหรือที่ปลายยอด เช่น สกุลเอื้องหมาก (Coelogyne  spp.) สกุลเอื้องกว่าง (Epigeneium  spp.) สกุลเอื้องลำต่อ (Pholidota  spp.) สกุลหวาย (Dendrobium  spp.) และสกุลก้านก่อ (Eria  spp.) ลักษณะช่อดอกส่วนใหญ่เป็นแบบช่อกระจะ (raceme) เช่น สกุลสิงโต (Bulbophyllum  spp.) สกุลประกายพรึก (Cheirostylis  spp.) สกุลกะเรกะร่อน (Cymbidium  spp.) สกุลหวาย (Dendrobium  spp.) และสกุลแมงมุม (Thrixspermum  spp.) หรือช่อแยกแขนง (panicle) เช่น บางชนิดในสกุลช้างดำ (Pomatocalpa  spp.) บางชนิดในสกุลเอื้องจิ๋ว (Schoenorchis  spp.) หรือช่อดอกคล้ายรูปพัดซึ่งพบในสกุลพัดโบก (Cirrhopetalum  spp.) หรือช่อเป็นกระจุกแน่น (capitulum, head) เช่น บางชนิดในสกุลสิงโต (Bulbophyllum  spp.) สกุลว่านจูงนาง (Geodorum  spp.) หรือที่เป็นดอกเดี่ยว เช่น สิงโตสยาม (Bulbophyllum siamense ) ฯลฯ(สวนพฤษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริติ์, 2545)   

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติดอกกล้วยไม้



     กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จนกระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็นอาณาบริเวณ อเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทย มีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวย แก่การเจริญงอกงามของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้ายไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ไกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวันตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดา ข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ที่หายากและมีราคาแพง หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี 2475 สภาพการเลี้ยง ก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้นให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการกล้วยไม้ออก เผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัดต่างๆ ในปี 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวงแคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ในประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต ปี 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วยไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ปี 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา



                                         



วิธีการเพาะพันธุ์กล้วยไม้และสาระน่ารู้








สาระน่ารู้ :การปลูกกล้วยไม้อย่างไรให้ออกดอกสวยงามและไม่ตาย



ปลูกกล้วยไม้จะปลูกอย่างไรให้มีความสุข เป็นทั้งอาหารตาและอาหารใจ ไปร้านกล้วยไม้เห็นมีดอกสวยก็ซื้อหมดเท่าที่มีกำลังทรัพย์ แต่ลืมคิดว่ามีใครปลูกกล้วยไม้ให้ และมีเวลาว่างพอจะปลูกหรือไม่ มีแสงสว่างพอที่ต้นกล้วยไม้จะได้รับแสงหรือเปล่า
เรามาเรียนรู้ชนิดของกล้วยไม้ก่อนว่าอยากปลูกกล้วยไม้แบบไหน
1. รากอากาศ
2. รากกึ่งอากาศ
3. กล้วยไม้ดิน
1. รากอากาศ (Epiphytic Orchid) รากค่อนข้างใหญ่ ไม่จะเป็นต้องมีเครื่องปลูกก็ได้ เช่น
สกุลแวนดา (Vanda) สกุลเดิม เช่น แวนดาฟ้ามุ่ย (V. Coerulea)
สกุลแอสโคเซนดา (Ascocenda) ลูกผสมระหว่างสกุลแวนดา กับ สกุลแอสโคเซนตรั้ม (Ascocentrum)
สกุลมอคคารา (Mokara) ลูกผสมระหว่าง สกุลอะแรคนิส (Arachnis) กับสกุลแอสโคเซนดา
สกุลคากาวารา (Kagawara) ลูกผสมระหว่าง สกุลรีแนนเธอรา (Renanthera) ผสมกับสกุลแอสโคเซนดา
สกุลอะแรนดา (Aranda) ลูกผสมระหว่างสกุลอะแรคนิส กับ สกุลแวนดา
สกุลช้าง (Rhynchostylis) ช้างกระ (Rhinchostylis gigantean) ช้างแดง (Rhynchostylid gigantean var. devara junii) ช้างเผือก (Rhynchostylid gigantean var. petoriana) เป็นต้น
2. รากกึ่งอากาศ (Semi - Epiphytic Orchid) ควรมีเครื่องปลูก เช่น ถ่าน กาบมะพร้าว อิฐมอญทุบ กระถางแตก เป็นต้น เช่น สกุลหวาย (Dendrobium) สกุลแคทลียา (Cattaleya) สกุลออนซิเดียม (Oncidium) สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum) สกุลฟาแนนอพซิส (Phalaenopsis)สกุลแกรมมาโตฟิลลัม (Grammatophyllum) เป็นต้น
3. กล้วยไม่ดิน (Terrestrial Orchid) ส่วนใหญ่มักเป็นหัว ฝังอยู่ในดินโปร่ง เช่น นางอั้ว สาคริก (Pacteillis sagarikii) ลิ้นมังกร (Habenaria) ว่านร่อนทอง (Ludisia discolor) เหลืองพิศมร (Spathoglottis lobbii) เป็นต้น
กล้วยไม้เจริญเติบโต รูปแบบ
1. เจริญเติบโตไปทางยอด (Monopodial) ต้นจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ สูงหลายเมตร เช่น แวนด้าเอื้องโมก (Vanda teres) ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้รากอากาศ
2. เจริญเติบโตเป็นกอ (Sympodial) เช่น สกุลหวาย สกุลคัทลียา สกุลออนซิเดียม สกุลแกรมมา โตฟิลลัม เป็นต้น
กล้วยไม้จะออกดอกหรือจะเจริญเติบโตได้ดี ยังแบ่งชนิดกล้วยไม้ตามสภาพภูมิอากาศ เช่น
1. กล้วยไม้เขตร้อน (Tropical Orchid) เช่น สกุลแวนด้า แอสโคเซนดา มอคคารา สกุลหวายบางชนิด
2. กล้วยไม้เขตกึ่งร้อน (Sub - Tropical Orchid) เช่น สกุลคัทลียาบางชนิด สกุลหวายบางชนิด สกุลออนซิเดียมบางชนิด
3. กล้วยไม้เขตกึ่งหนาว (Intermediate Orchid) เช่น กล้วยไม้สกุลซิมมิเดียมบางชนิด (Cymbidum) สกุลออนซิเดียมบางชนิด สกุลมิลโทเนีย (Miltonia) เป็นต้น
4. กล้วยไม้เขตหนาว (Temperate Orchid) เช่น สกุลซิมมิเดียมบางชนิด ส่วนใหญ่อยู่ตามที่สูงอากาสหนาวเย็น
องค์ประกอบสำคัญในการปลูกกล้วยไม้ให้งามและออกดอก คือ
1. แสงสว่าง
2. อุณหภูมิ
3. ความชุ่มชื้น
4. สิ่งแวดล้อม
5. ผู้ปลูกเลี้ยง
น้ำรดต้นกล้วยไม้
น้ำใสสะอาดมีความเป็นกรด - ด่าง (pH ประมาณ 5.5 - 7) ค่า pH ต่ำกว่า มีความเป็นกรด ถ้าค่า pH สูงกว่า มีความเป็นด่าง ควรใช้กรดไนตริกเพื่อช่วยลดค่า pH แต่สำคัญคุณสมบัติของน้ำต้องรู้ค่าของประจุไฟฟ้า (EC. คือ Electrical Conductivity) อยู่ประมาณ 200 ถ้าเกินกว่า 600 จะทำให้ต้นกล้วยไม้ไม่แข็งแรง สามารถนำน้ำไปตรวจคุณสมบัติได้ที่ กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร อยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรบางเขน โทร 0-2579-8600 น้ำบาดาลส่วนใหญ่จะมีค่า pH สูงถึง และค่า EC ประมาณ 600 ฉะนั้นถ้าใช้น้ำแม่น้ำ หรือน้ำคลองชลประทานจะดี น้ำตก น้ำตามไหล่เขา น้ำใสแต่ค่า pH สูง ถ้าน้ำคลองขุ่นต้องผ่านระบบกรองน้ำ การให้น้ำควรให้น้ำตอนเช้าก่อนแสงแดดจัด แสงสว่างจะช่วยต้นกล้วยไม้ในการปรุงอาหารได้ดี

........................................................................