วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรคและแมลงศัตรู


ปัญหาที่สำคัญในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ก็คือ โรคและแมลงรบกวน โรคของกล้วยไม้มีหลายชนิด บางชนิดทำให้กล้วยไม้ตายภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เชื้อโรคและแมลงศัตรูที่เข้าทำลายกล้วยไม้ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น และขยายพันธุ์รวดเร็ว ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้การป้องกันกำจัดได้ยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง โรคและแมลงศัตรูของกล้วยไม้ที่พบมีดังนี้

โรคเน่าดำหรือยอดเน่า

โรคเน่าดำหรือยอดเน่า หรือ เรียกว่าโรคเน่าเข้าไส้ โรคนี้สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora

ลักษณะอาการ

โรคนี้สามารถเข้าทำลายกล้วยไม้ได้ทุกส่วน ถ้าเชื้อราเข้าทำลายที่ราก รากจะเน่าแห้ง ซึ่งมีผลทำให้ใบเหลือง ร่วง และตายในที่สุดถ้าเชื้อราเข้าทำลายยอดจะทำให้ยอดเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมือได้ง่าย และถ้าแสดงอาการรุนแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เมื่อผ่าดูจะเห็นเป็นสีดำหรือน้ำตาลเข้มตามแนวยาวของต้น โรคนี้จะแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝนหรือช่วงที่มีความชื้นสูง

การป้องกันและกำจัด

ควรปรับสภาพเรือนกล้วยไม้ให้โปร่ง ไม่ควรปลูกกล้วยไม้หนาแน่นเกินไป ถ้าพบโรคนี้ในระยะเป็นลูกกล้วยไม้ให้แยกกระถางที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย ถ้าเป็นกับกล้วยไม้ที่ใดแล้วควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกเสียจนถึงเนื้อดี แล้วใช้ยาฉีดพ่น ยาป้องกันกำจัดเชื้อราจะต้องใช้ชนิดที่สามารถป้องกันเชื้อราชนิดนี้โดยตรง เช่น ไดโพลาแทน, ริโดมิล, เทอราโซล สำหรับการใช้ยาประเภทดูดซึมมีข้อควรระวัง คือ อย่าให้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เชื้อราดื้อยา ควรผสมกับยาชนิดอื่น เช่น แมนโคเซป หรือใช้ยาสูตรที่ผสมมาให้เรียบร้อยแล้ว เช่น ริไดมิล เอ็มแซด หรืออาจใช้สลับกันระหว่างยาดูดซึมจะทำให้การป้องกันกำจัดได้ผลดียิ่งขึ้น เพราะสารเคมีแต่ละตัวมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อราได้แตกต่างกัน

โรคดอกสนิมหรือจุดสนิม

เป็นโรคที่จักกันดีในหมู่ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อตัดดอกเป็นขายต่างประเทศ บางอาจแสดงอาการระหว่างการขนส่ง เป็นมากกับกล้วยไม้สกุลหวายโดยเฉพาะหวายมาดาม หวายขาว หวายชมพูและหวายซีซาร์ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis
กล้วยไม้

ลักษณะอาการ

ปรากฏอาการบนกลีบดอกกล้วยไม้ อาการเริ่มแรกเป็นจุดขนาดเล็กสีน้ำตาลเหลือง เมื่อจุดเหล่านี้ขยายโตขึ้นจะเข้มเป็นสีสนิม มีลักษณะค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.1–0.3 มิลลิเมตร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวสวนกล้วยไม้นิยมเรียกว่า โรคราสนิมลักษณะดังกล่าวจะปรากฎชัดเจนบนดอกหวายมาดาม แต่อาการบนหวายขาวจะเป็นแผลสีน้ำตาลไม่เป็นแผลสีสนิมชัดเจนอย่างบนหวายมาดาม โรคนี้ระบาดได้ดีในช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะถ้ามีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือมีน้ำค้างลงจัด โดยจะระบาดติดต่อกันรวดเร็วทั่วทั้งรังกล้วยไม้และบริเวณใกล้เคียง

การป้องกันและกำจัด

หมั่นตรวจดูแลรังกล้วยไม้ให้สะอาดอย่างสม่ำเสมออย่าปล่อยให้ดอกกล้วยไม้บานโรยคาต้น เพราะจะเป็นแหล่งให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย เก็บรวบรวมดอกที่เป็นโรคให้หมดแล้วนำไปเผาทำลายเสีย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมโรค หลังจากนั้นจึงฉีดพ่นสารเคมี เช่น ไดเทนเอ็ม 45, ไดเทนแอลเอฟหรือมาเน็กซ์ โดยในช่วงฤดูฝนควรฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น

โรคใบปื้นเหลือง

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pseudocercospora dendrobii พบมากในกล้วยไม้หวายปอมปาดัวร์ ระบาดมากตั้งแต่ช่วงปลายฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว โดยสปอร์ของเชื้อราจะแพร่กระจายไปกับลมและกระเด็นไปกับละอองน้ำที่ใช้รดต้นกล้วยไม้

ลักษณะอาการ

จะเกิดบนใบของกล้วยไม้โดยเฉพาะที่อยู่โคนต้นก่อนโดยใบจะมีจุดกลมสีเหลือง เมื่อเป็นมากๆ จะขยายติดต่อกันเป็นปื้นเหลืองตามแนวยาวของใบ เมื่อพลิกดูใต้ใบจะเห็นเป็นกลุ่มผงสีดำ ในที่สุดใบที่เป็นรุนแรงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ พร้อมทั้งร่วงหลุดออกจากต้นในที่สุด ทำให้ต้นกล้วยไม้ทิ้งใบหมด

การป้องกันและกำจัด

ควรเก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย และรักษารังกล้วยไม้ให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อเป็นการทำลายเชื้อและลดปริมาณของเชื้อราในรังกล้วยไม้ และฉีดพ่นด้วยยาเดลซีนเอ็มเอ็ก 200, ไดเทนเอ็ม 45, เบนเลททุกๆ 7–10 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

โรคแอนแทรกโนส

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Collectotrichum sp. เป็นโรคหนึ่งที่พบเสมอในกล้วยไม้สกุลออนซิเดี้ยม สกุลแคทลียา สกุลแวนด้า สกุลหวาย สกุลแมลงปอ ปอมปาดัวร์ และลูกผสมของกล้วยไม้สกุลต่างๆ เหล่านี้เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลมและฝนหรือน้ำที่ใช้รด
กล้วยไม้

ลักษณะอาการ

ใบจะเป็นแผลวงกลมสีน้ำตาลอมแดงหรือสีน้ำตาลไหม้ ซึ่งขยายออกไปเป็นแผลใหญ่เห็นเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อที่เป็นแผลบุ๋มลึกลงไปต่ำกว่าระดับผิวใบเล็กน้อย กล้วยไม้บางชนิดมีขอบแผลเป็นเนื้อเยื่อสีเหลืองล้อมรอบแผล เช่น ลักษณะแผลของพวกแมลงปอ ฯลฯ บางชนิดแผลมีขอบสีน้ำตาลเข้มกว่าภายในและไม่มีขอบแผลสีเหลืองเลย เช่น แผลของกล้วยไม้ดินบางชนิด เนื้อเยื่อของแผลนานเข้าจะแห้งบางผิดปกติ ขนาดของแผลแตกต่างกันแล้วแต่สภาพแวดล้อม บางแห่งมีเชื้อราอื่นมาขึ้นร่วมภายหลังทำให้แผลขยายกว้างออกไปจนมีลักษณะที่เป็นแผลวงกลม อย่างอาการเริ่มแรกกล้วยไม้ที่มีใบอวบอมน้ำมาก เช่น แคทลียา ลูกผสมแมลงปอ และกล้วยไม้ดินบางชนิดใบจะเน่าเปื่อยถ้าฝนตกชุก แต่โดยปกติจะเป็นแผลแห้งติดอยู่กับต้น

การป้องกันและกำจัด

โดยเก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคไปเผาทำลายเสีย เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่ระบาดต่อไป และฉีดยาป้องกันกำจัดเชื้อราทุกๆ 7–15 วันต่อครั้งส่วนฤดูฝนต้องฉีดพ่นเร็วกว่ากำหนด เช่น 5–7 วันต่อครั้ง เป็นต้น

โรคเน่าแห้ง

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii เป็นโรคที่พบตามแหล่งปลูกกล้วยไม้ทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตอากาศร้อนชื้น ทำความเสียหายแก่กล้วยไม้หลายสกุล เช่น สกุลแวนด้า สกุลหวาย สกุลรองเท้านารีและสกุลออนซิเดี้ยม

ลักษณะอาการ

โดยเชื้อราจะเข้าทำลายกล้วยไม้บริเวณรากหรือโคนต้นแล้วแพร่ไปยังส่วนเหนือโคนต้นขึ้นไป บริเวณที่ถูกทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซึ่งต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เนื้อเยื่อจะแห้งและยุ่ย ถ้าอากาศชื้นมากๆ จะเห็นเส้นใยสีขาวแผ่บริเวณโคนต้น ลักษณะที่เห็นได้ง่ายคือมีเม็ดกลมๆ ขนาดเล็กสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดผักกาดเกาะอยู่ตามโคนต้น ในกล้วยไม้บางชนิดจะแสดงอาการที่ใบโดยจะทำให้ใบเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่ออากาศแห้งจะเหี่ยวและร่วงตายไปในที่สุดโรคนี้ระบาดมากในฤดูฝน ซึ่งเชื้อราชนิดนี้จะมีเมล็ดเป็นสีน้ำตาลกลมๆ ซึ่งทนต่อการทำลายของสารเคมีและสภาพแวดล้อมต่างๆ ทำให้มีชีวิตอยู่ได้นาน

การป้องและกำจัด

ควรดูแลรังกล้วยไม้เสมอ ถ้าพบว่าเป็นโรคนี้ควรเก็บรวบรวมใบแล้วเผาทำลายทิ้ง และราดทับหรือฉีดพ่นด้วยยากำจัดเชื้อรา เช่น เทอราโซลหรือไวตาแวกซ์

โรคเน่าเละ

เป็นโรคที่รู้จักกันดีในหมู่นักเลี้ยงกล้วยไม้ สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas gladioli เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับกล้วยไม้หลายสกุล เช่น สกุลแคทลียา สกุลรองเท้านารี สกุลออนซิเดี้ยม สกุลซิมบิเดี้ยม ฟาแลนด์น๊อฟซิส เป็นต้น มักจะเกิดในเรือนกล้วยไม้ที่มีความชื้นสูง

ลักษณะอาการ

อาการเริ่มแรกจะเป็นจุดช้ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือบนหน่ออ่อน ทำให้เนื้อเยื่อมีลักษณะเหมือนถูกน้ำร้อนลวก คือใบจะพองเป็นสีน้ำตาล ฉ่ำน้ำ ถ้าเอามือจับแต่เบาๆ จะเละติดมือและมีกลิ่นเหม็น ซึ่งจะขยายลุกลามออกไปทั้งใบและหน่ออย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝนที่มีสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง

การป้องกันและกำจัด

ตัดหรือแยกส่วนที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย ในช่วงที่มีฝนตกหนักควรมีหลังคาพลาสติกคลุมอีกชั้นหนึ่งสำหรับลูกกล้วยไม้หรือไม้ปลูกใหม่ เพื่อไม่ให้แรงกระแทกของเม็ดฝนทำให้กล้วยไม้ช้ำและเป็นสาเหตุให้เชื้อเข้าทำลายได้ง่าย ไม่ควรปลูกกล้วยไม้หนาแน่นเกินไป เพราะจะทำให้อากาศระหว่างต้นไม่ถ่ายเท เกิดความชื้นสูงและง่ายแก่การเกิดโรค นอกจากนี้การเร่งกล้วยไม้ให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยการให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงมากเกินไปจะทำให้ต้นและใบกล้วยไม้อวบหนา ซึ่งเหมาะแก่การเป็นโรคเน่าเละนี้มาก สำหรับยาเพื่อใช้กำจัดแบคทีเรียนิยมใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกสเตรปโตมัยซิน เช่น แอกริมัยซิน หรืออาจใช้ไฟแซน 20 หรือนาตริฟินก็ได้

โรคใบจุด

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phyllostictina psriformis พบมากในกล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลหวาย ทำให้ต้นกล้วยไม้มีการเจริญเติบโตลดลง เนื่องจากใบมีการปรุงอาหารได้น้อย โรคนี้มีปัญหามากกับผู้เพาะเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อจำหน่ายต้น

ลักษณะอาการ

ในกล้วยไม้สกุลแวนด้า ลักษณะแผลเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวย ถ้าเป็นมากบางครั้งแผลจะรวมกันเป็นแผ่น บริเวณตรงกลางแผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาลดำ เมื่อลูบดูจะรู้สึกสากมือ ซึ่งในเวลาต่อมาตุ่มนูนนี้จะแตกออกมีสปอร์จำนวนมาก ระบาดในฤดูฝนถึงฤดูหนาว ส่วนลักษณะอาการที่เกิดกับสกุลหวายจะแตกต่างจากสกุลแวนด้า คือ ลักษณะแผลเป็นจุดกลมสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ขอบแผลสีน้ำตาลอ่อน ขนาดแผลมีได้ตั้งแต่เท่าปลายเข็มหมุดจนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 1 เซนติเมตร บางครั้งแผลจะบุ๋มลึกลงไป หรืออาจนูนขึ้นมาเล็กน้อยหรือเป็นสะเก็ดสีดำ เกิดได้ทั้งด้านบนใบและหลังใบ บางทีอาจมีลักษณะแตกต่างออกไปเล็กน้อย คือ บนใบจะมีอาการเป็นจุดกลมสีเหลือง เห็นได้ชัดเจน จุดกลมเหลืองเหล่านี้บางจุดจะมีสีดำบริเวณกลางและค่อยแผ่ขยายเป็นจุดกลมสีดำทั้งหมดสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดปี

การป้องกันและกำจัด

ทำได้โดยการรวบรวมใบที่เป็นโรคไปเผาทำลายเสียหรือฉีดพ่นด้วยยาไดเทนเอ็ม 45, ไดเทนแอลเอฟ หรือยาประเภทคาร์เบนดาซิม เช่น เดอโรซาล เป็นต้น

เพลี้ยไฟ

เป็นที่รูจักกันดีในวงการผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ในชื่อว่า ตัวกันสีเป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็กมาก มีความยาวประมาณ ½-2 มิลลิเมตร รูปร่างเรียวยาว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวอ่อนไม่มีปีก ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาลอ่อน หรือสีดำ ตัวแก่มีปีกซึ่งมีลักษณะแคบยาว มักจะพบเห็นตัวอ่อนเกาะบนกล้วยไม้ เพลี้ยไฟมีการเคลื่อนไหวรวดเร็วมาก ถ้าไม่สังเกตจะมองไม่เห็นตัว

ลักษณะอาการ

เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่ดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนที่อ่อนๆ เช่น ตามยอด ตาและดอก มักพบเพลี้ยไฟเข้าทำลายกล้วยไม้ในฤดูร้อนและฤดูฝน ทำความเสียหายมากแก่กล้วยไม้ในระยะที่ดอกตูมและดอกกำลังบาน โดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต เป็นสีน้ำตาลและแห้งคาก้านช่อดอก ส่วนอาการที่ดอกบานเริ่มแรกจะเห็นเป็นรอยแผลสีซีดขาวที่ปากหรือกระเป๋า และตำแหน่งของกลีบดอกที่ซ้อนกัน ต่อมาแผลจะกลายเป็นสีน้ำตาลเรียกว่า ดอกไหม้หรือปากไหม้ดอกเหี่ยวแห้งง่าย

การป้องกันและกำจัด

อาจใช้พอสซ์ในอัตรา 30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไวเดทแอล อัตรา 30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ซีเอฟ 35 แอสที 10–15 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยเลือกเวลาการฉีดในช่วงเย็นๆ

ไรแดงหรือแมงมุมแดง

เป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของกล้วยไม้ โดยเฉพาะกล้วยไม้สกุลหวาย ไรแดงเป็นศัตรูจำพวกปากดูดมีขนาดเล็กมาก แต่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นจุดสีแดงเล็กๆ เคลื่อนไหวได้ ไรแดงมีสีต่างๆ เช่น สีแดง สีเหลืองอมเขียว สีเหลืองและส้ม รูปร่างค่อนข้างกลม มักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มทางด้านใต้ใบ

ลักษณะอาการ

ไรแดงจะทำลายทั้งใบและดอก โดยจะดูดน้ำเลี้ยง ถ้าดูดน้ำเลี้ยงที่ใบจะทำให้เกิดเป็นจุดด่าง ผิวใบไม่เรียบ มีสีเหลืองและค่อยๆ เป็นสีเข้มขึ้นจนถึงสีน้ำตาล ถ้ามีการทำลายมากๆ จะมองเห็นบริเวณนั้น

การป้องกันและกำจัด

ทำได้โดยเก็บใบและดอกที่ถูกทำลายไปเผาและใช้ยาเคลเธน อัตรา 30 ซีซี ฉีดพ่นทั้งต้น



สูตรปุ๋ยกล้วยไม้ ตามฤดูกาล


       ปุ๋ย ปุ๋ยเป็นคำเรียกแทนอาหารของพืช  ซึ่งมีแร่ธาตุหลายชนิด  ที่มีคุณค่าแก่การเติบโตของพืช  แบ่งเป็น 2 จำพวกใหญ่ๆคือ
       1) ปุ๋ยธรรมชาติ หรือ ปุ๋นอินทรีย์  เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีอยู่ในโลกตามธรรมชาติ เช่น ขี้หมู ขี้วัว ขี้ควาย  ใบไม้และหญ้าหมัก  ตลอดจนพืชและสัตว์ที่ตายทับถมเน่าเปื่อยผุพังไปแล้วนานๆ  ปุ๋ยแบบนี้มักนำไปใช้กับกล้วยไม้ประเภทที่มีระบบรากอยู่ในดิน  หรือแบบกึ่งดินกึ่งอากาศ เช่น สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum )  ,  สกุลไฟอัส (Phaius)หรือเอื้องพร้าว ,  สกุลยูโลเฟีย (Eulophia) หรือ หมูกลิ้ง ,  สกุลสะแปโตกลอทติส (Spathoglottis)   และสกุลฮาเบนาเรีย (Habenaria)  เป็นต้น
       2) ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรือ ปุ๋ยอนินทรีย์  ปุ๋ยแบบนี้ ประกอบด้วยแร่ธาตุอาหาร 3 ชนิด ที่พืชต้องการมากที่สุกคือ ไนโตรเจน (N) , ฟอสฟอรัส (P), โพแทสเซียม (K) ซึ่งแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้ ถือ เป็นอาหารหลักที่ต้องใช้เป็นประจำ และใช้เป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอาหารอื่นที่เป็นธาตุอาหารรอง ซึ่งกล้วยไม้และพืชต่างๆต้องการใช้เพียงจำนวนเล็กน้อย เพื่อเป็นการเสริมอาหารหลักให้มีประสิทธิภาพ   ซึ่งแร่ธาตุที่สำคัญและจำเป็นที่พืชขาดเสียมิได้เหล่านี้มี 12 ชนิดคือ  ออกซิเจน , ไนโตรเจน , คาร์บอน , เหล็ก , กำมะถัน , แคลเซี่ยม , แมงกานีส ,ทองแดง ,  สังกะสี , แมกนีเซียม , โมลิดินั่ม , และ โบรอน   ใน 12 ชนิดนี้ มีอยู่ 3 ชนิด คือ ออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอน  เป็นแร่ธาตุที่พืชได้ตามธรรมชาติ  จากบรรยากาศอยู่แล้ว
สำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในบ้าน
ปุ๋ยกล้วยไม้  ที่ใช้กันโดยมากจะเป็นปุ๋ยเคมี  แบบเกล็ดละลายน้ำ  และปุ๋ยน้ำ  ที่สำคัญต้องดูที่สูตร
สูตรปุ๋ยที่ควรมีประจำติดบ้านคือ  สูตรเสมอ เช่น 21-21-21 และ สูตรขั้นบันได เช่น 16-21-27 หรือ 10-20-30
ปกติแล้ว ที่แนะนำคือ ใส่สลับกัน ทุก 7-10 วัน
เช่น วันที่ 1 ใส่ปุ๋ยสูตร 21-21-21 ,พอวันที่ 8 ให้เปลี่ยนเป็นปุ๋ยสูตร 16-21-27 ,และพอถึงวันที่ 15 ก็กลับมาใช้สูตร
21-21-21 สลับกันไปแบบนี้ เรื่อยๆ 
สิ่งสำคัญคือ  ต้องใส่ปุ๋ยให้สม่ำเสมอ  ใช้ในอัตราส่วนที่พอเหมาะ ตามฉลาก  และใส่ปุ๋ยในช่วงเช้า  วันที่อากาศสดใส เพื่อการดูดซึมที่ดี 
ไม่จำเป็นต้องใช้สูตรพิสดารมากมาย  เพียง 2 สูตรนี้  ก็ทำให้ต้นงามและเห็นดอกได้แล้ว   
อยากรู้ว่าควรใช้เมื่อใดก็ทิ้งคำถามได้ที่ คลีนิกกล้วยไม้  ได้เลยค่ะ 

เพิ่มเติม 
แนะนำสูตรปุ๋ยตามฤดูกาล / ตามสภาพอากาศ
มีปุ๋ยที่แนะนำด้วยกัน ประมาณ 4  สูตรคือ  1.สูตรเสมอ N-P-K เท่ากัน เช่น 20-20-20 ,21-21-21 เป็นต้น
 2.สูตรเร่งดอก เช่น 15-30-15 สำหรับฉีดกระตุ้นตาดอก ในไม้ที่หน่อสุดแล้ว
 3.สูตรขั้นบันได ได้แก่ 10-20-30 และ 16-21-27 ช่วยด้านความแข็งแรงของลำต้น และ การออกดอก  ในกรณีที่แสงน้อย
 4. สูตรตัวหน้าสูง เพิ่มความอวบของต้นไม้ เช่น 30-20-10
สำหรับกล้วยไม้กระถางนิ้ว อายุตั้งแต่ 2 สัปดาห์ - 6 เดือน 
  • โดยปกติ แนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 21-21-21 ในอัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ  20 ลิตร พ่นทุกๆ 7  วัน
  • ในช่วงฤดูฝน ที่มีฝนตกมาก ให้ใช้สูตรเสมอ สลับกับ สูตร 16-21-27  จะทำให้ไม้นิ้วแข็งแรงขึ้น
  • ในช่วงอากาศแห้ง ความชื้นในอากาศน้อย และฤดูหนาว ให้ใช้สูตรเสมอ สลับกับ สูตร 30-20-10 จะทำให้ไม้นิ้วอ้วนขึ้น ใบเขียว
สำหรับกล้วยไม้ ที่เจริญเติบโตเต็มที่ เป็นไม้สาว พร้อมออกดอก แนะนำการให้ปุ๋ยดังนี้
  • โดยปกติ สำหรับทั่วไป  แนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 21-21-21 สลับกับ สูตร 16-21-27 ในอัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ  20 ลิตร พ่นทุกๆ 7  วัน  
  • ในจำพวกแคทลียา และหวาย สามารถให้สูตร 16-21-27  ทุกๆ 7 วัน ได้เลย จะช่วยให้ออกดอกบ่อย  แต่ต้นจะไม่เขียว ออกสีเขียวเหลืองๆหน่อย
  • ฤดูร้อนจัด เดือนเมษายน / ฤดูแล้ง ควรให้ปุ๋ยสูตรเสมอ 21-21-21 สลับกับสูตรตัวหน้าสูง เช่น 30-20-10 
  • ในช่วงฤดูฝน จะใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 21-21-21  สลับกับ 16-21-27  เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของลำต้น   ถ้าต้นอ่อนแอมาก ก็สามารถใช่สูตร 6-20-30 ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง 
  • ส่วนช่วงหมดฝน-ฤดูหนาวใช้สูตรเสมอ 21-21-21 เป็นตัวยืน  สลับด้วย 16-21-27 หรือ 10-20-30  ถ้ากรณีที่มีลมหนาวมาแรงๆทำให้ใบเหลืองได้  ก็อาจใช้ปุ๋ยปลาช่วยได้บ้างครั้งคราว

สภาพโรงเรือน แสง และอุณหภูมิ

        การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ไม่ว่าจะเป็นนักกล้วยไม้สมัครเล่น หรือนักกล้วยไม้อาชีพ  จำเป็นจะต้องมีที่ให้กล้วยไม้อยู่  โดยจะทำราวแขวนตามระเบียงบ้าน หรือ จะทำเรือนกล้วยไม้ตามขนาดของจำนวนกล้วยไม้ที่มีอยู่ ก็ตาม มิใช่ทำตามใจของเรา ทั้งนี้เพราะเราไม่ใช่ผู้ที่จะไปอยู่ตรงนั้น กล้วยไม้ต่างหากที่จะเข้าไปอยู่  ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงธรรมชาติของกล้วยไม้ ที่เราจะนำมาปลูกเลี้ยงเสียก่อน ว่าเป็นกล้วยไม้ชอบแสง ชอบอากาศอย่างไร แค่ไหน แล้วจึงพิจารณาหาบริเวณที่เหมาะสม ภายในที่ดินของเราเพื่อปลูกเรือนกล้วยไม้  หรือสร้างรังกล้วยไม้
       กล้วยไม้ที่ปลูกเลี้ยงได้ในประเทศไทยนั้น  ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้ที่มีความเป็นอยู่ในเขตร้อน  ตามที่สภาพอากาศของประเทศไทยเป็นเช่นนั้น  แต่อย่างไรก็ตาม กล้วยไม้มิใช่ว่าจะปลูกกลางแจ้งตากแดด ตากฝน  บางชนิดอยู่ได้  แต่โดยทั่วไปแล้ว จำเป็นต้องมีโรงเรือน

รายละเอียดโรงเรือนกล้วยไม้แต่ละสกุล พอสังเขป

สกุลความสูงโรงเรือน (เมตร)การพรางแสง (%)วิธีการปลูก
หวาย(Dendrobium)2.5-3.550-60วางบนโต๊ะ
ออนซิเดียม (Oncidium)2.5-3.540-50วางบนโต๊ะ
มอคคารา (Mokara)3.0-4.050-70วางบนโต๊ะหรือปลูกบนแปลง
แวนด้า (Vanda) - ใบแบน3.0-4.040-50
วางบนโต๊ะหรือปลูกบนแปลง
หรือแขวน
แวนด้า (Vanda) - ใบร่อง3.0-4.020-30วางบนโต๊ะหรือปลูกบนแปลง

เสาโรงเรือน : เสาคอนกรีต ขนาด 3 x 3 นิ้ว
หลังคาโรงเรือน : ใช้ตาข่ายพรางแสง (saran screen) สีดำ โดยขึงให้ติดกันทั้งผืน เว้นระยะห่างแต่ละแผ่นเพื่อระบายอากาศ  หรือขึงเป็นสเต็ป 2 ชั้น

แมลง - สัตว์ ศัตรูกล้วยไม้



1. เพลี้ยไฟฝ้าย (Cotton Thrips) 
ชื่อวิทยาศาสตร์  Thrips palmi Karny  ชื่ออื่นๆ ตัวกินสี
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย  ช่อดอก
ลักษณะการทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายดอกกล้วยไม้ โดยใช่ปากเขี่ยเนื่อเยื่อให้ช้ำแล้วดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืช  บริเวณที่ถูกทำลายเกิดรอยด่างขาว
ทำลายกล้วยไม้เกือบตลอดปี แต่พบน้อยในช่วงฤดูฝน
การป้องกันกำจัด 
ใช้สารฆ่าแมลงเป็นกลุ่มๆดังนี้
กลุ่ม 1 *อิมิดาโคลพริด (คอร์ฟิดอร์ 100 เอสแอล) อัตรา 10-20 ml./ น้ำ 20 ลิตร
             * อะเซทามิพริด (โมแลน 20 % เอสพี) อัตรา 10-20 กรัม / น้ำ  20 ลิตร
กลุ่ม 2 *อะบาเม็กติก (แจคเก็ต , เวอร์ทิเม็ค 1-8 % อีซี)  อัตรา 10-20 ml./ น้ำ 20 ลิตร
กลุ่ม 3 * ฟิโปรนิล (แอสเซ้นด์ 5% เอสซี) อัตรา 20 ml./ น้ำ 20 ลิตร
กลุ่ม 4 *ไซเพอร์เมทริน / โฟซาโลน (พาร์ซอน 28.75% อีซี) อัตรา 40 มิลลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร
* เพื่อป้องกันการสร้างความต้านทานสารฆ่าแมลงในเพลี้ยไฟ  ควรพ่นสารสลับกัน แต่ไม่ควรพ่นติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง โดยใช่ช่วงพ่น 5-7 วัน /ครั้ง ในฤดูร้อน , 7-10 วัน / ครั้ง ในฤดูฝน และพ่นให้ทั่วเป็นละอองฝอย โดยเฉพาะบริเวณส่วนดอก
 2บั่วกล้วยไม้ (Orchid midge)   ,  ชื่อวิทยาศาสตร์ :Contarinia sp.        ชื่ออื่นๆ :ไอ้ฮวบ , แมลงวันดอกกล้วยไม้
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย กลีบดอก มักเป็นกล้วยไม้สกุลหวาย
ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนจะกัดกินกลีบดอกด้านใน ทำให้กลีบดอกเกิดอาการผิดปรกติ มีผลทำให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต บิดเบี้ยว และหงิกงอ  ต่อมาจะมีอาการเน่าเหลือง ฉ่ำน้ำและหลุดล่วงจากช่อดอก  หากพบระบาดรุนแรง ดอกตูมจะหลุดร่วงอย่างรวดเร็วฮวบฮาบ จนเหลือแต่ก้านดอก  จึงเป็นชื่อเรียกว่า 'ไอ้ฮวบ'
 การป้องกันกำจัด
1. ใช้วิธีกล โดยทำลายดอกตูมที่มีอาการเน่า ฉ่ำน้ำ หรือแสดงอาการบิดเบี้ยว
2. หากพบมีการระบาดรุนแรง ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลง ไซเพอร์เมทริน / โฟซาโลน (พาร์ซอน 28.75% อีซี) อัตรา 40 มิลลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์ 20% อีซี) อัตรา 50 มิลลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร กำหนดการพ่น 5-7 วัน /ครั้ง จนกว่าการระบาดจะลดลง
3. ไรแดงเทียม (False spider mite)  ชื่อวิทยาศาตร์  Teunipalpus pacificus Baker
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ลำต้น ใบ ราก
ลักษณะการทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและดอก ถ้าทำลายที่ใบจะทำให้เกิดจุดด่าง ผิวใบไม่เรียบและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นจนถึงน้ำตาล บางครั้งบริเวณที่ถูกทำลาย มีสีแดงเป็นปื้น หรือสีน้ำตาลไหม้เกรียม ถ้าทำลายที่ดอกจะทำให้บริเวณที่ถูกดูดกินเป็นสีม่วงเข้ม  เห็นได้ชัดในพวกกลีบดอกสีขาว
 การป้องกันกำจัด
1. ไม่ควรปลูกกล้วยไม้ในลักษณะที่แออัดมากเกินไป โดยเฉพาะกล้วยไม้ที่มีการแตกหน่อและใบแน่นทึบ  เพราะทำให้ยากแก่การดูแลรักษา โดยเฉพาะการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช อาจทำได้ไม่ทั่วถึง
2. ใบและช่อดอกที่ถูกไรแดงทำลาย ควรนำไปเผาทำลาย เพื่อลดปริมาณไรให้เหลือน้อยที่สุด
3. พ่นสารฆ่าไรให้ทั่วทุกจุดเช่น ใต้ใบ หรือช่อดอก สลับสารฆ่าไรตามความเหมาะสม เพื่อป้องการการดื้อสารเคมี  สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่แนะนำ
ถ้ามีการระบาดมาก ใช้สารกำจัดไร อามีทราซ (ไมแทค 20% อีซี) อัตรา 30-40 มิลลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร พ่นทุกๆ  3-4 วัน ในช่วงที่มีการระบาด แต่ไม่ควรพ่นขณะแดดจัด เพราะจะทำให้ดอกไหม้
4. หนอนกระทู้ผัก ,หนอนกระทูฝ้าย , หนอนกระทู้ยาสูบ (Cluster caterpillar ,Cotton leafworm , Tobacco cutworm , Common cutworm)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Spodoptera litura Fabricius
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ดอกและใบ โดยหนอนจะกัดกินส่วนดอกและใบ
การป้องกันกำจัด
1. ใช้วิธีกล โดยเก็บกลุ่มไข่และหนอนไปทำลาย เป็นวิธีที่ได้ผลดี และมีประสิทธิภาพ
2. ใช้เชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ ไวรัส เอ็นพีวี ของหนอนกระทู้ผัก อัตรา 30 มิลลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบอัตราตามฉลาก ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5 วันในช่วงหนอนระบาด
3. ใช้สารฆ่าแมลง เมื่อมีการระบาดให้พ่นด้วยสารระงับการลอกคราบ ได้แก่ คลอร์ฟูอาซูรอน อัตรา 20 มิลลิลิตร /น้ำ 20 ลิตร  โดยกำหนดช่วงพ่น 5-7 วัน /ครั้งติดต่อกัน จนกว่าการระบาดจะลดลง
5. หนอนกระทู้หอม, หนอนหนังเหนียว ,หนอนเขียว (Beet armyworm ,Lesser worm ,Onion cutworm)
ชื่อวิทยาศาสตร์  Spodoptera exigus Hubner
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ดอกและใบ
การป้องกันกำจัด
1. ใช้วิธีกล โดยเก็บกลุ่มไข่และหนอนไปทำลาย เป็นวิธีที่ได้ผลดี และมีประสิทธิภาพ
2. ใช้เชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ *ไวรัส เอ็นพีวี ของหนอนกระทู้ผัก อัตรา 30 มิลลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบอัตราตามฉลาก ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5 วันในช่วงหนอนระบาด  *เชื้อแบคทีเรีย (Bt) เช่น เซนทารี อัตรา 60 กรัม / น้ำ 20 ลิตร ,เดลฟีน อัตรา 40 กรัม / น้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5 วัน
3. สารสกัดสะเดา ในอัตรา 100 มิลลิลิตร /น้ำ 20 ลิตร
4. ใช้สารฆ่าแมลง ได้แก่ ไดอะเฟน ไทยูรอน (โปโล 25% )อัตรา 40 มิลลิลิตร /น้ำ 20 ลิตร 
6. หอยทากซัคซิเนีย (Amber Snail)  ชื่อวิทยาศาตร์ Succinea chrysys West
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ตาหน่อ ตาดอก และช่อดอก
ลักษณะการทำลาย หอยทากซัคซิเนีย ระบาดทำลายกล้วยไม้ในแปลงที่มีความชื้นสูง โดยเข้าทำลายตาหน่อ ตาดอก และช่อดอก  นอกจากนี้ เมือกที่หอยปล่อยไว้ตลอดแนวที่เดินผ่าน  เป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อโรค หรือเชื้อราเข้าทำลายกล้วยไม้ได้อีกด้วย
รูปร่าง หอยทากชนิดนี้เป็นหอยทากขนาดเล็ก มีความกว้าง 0.5-0.6 ซม. สูง 0.8-0.9 ซม.
การแพร่กระจาย และฤดูกาลที่ระบาด  แปลงกล้วยไม้ที่มีความชื้นสูง และพบระบาดมากในฤดูฝน
การป้องกันกำจัด
1. เครื่องปลูก เช่น กาบมะพร้าว ควรอบ หรือ ตากแห้ง หรือ ชุบสารกำจัดหอยก่อนนำไปปลูก เพื่อป้องกันกำจัดไข่หอย หรือลูกหอยที่ติดมา
2. เมื่อเริ่มพบหอยทาก ให้วางเหยื่อพิษสำเร็จรูปเมทัลดีไฮด์ มีลักษณะเป็นเม็ด โดยวางเป็นจุด ประมาณปลายช้อนชา ตามโคนต้นกล้วยไม้ในแหล่งที่พบหอยทาก ภายหลังจากที่ให้น้ำกล้วยไม้แล้ว หรือเวลาเย็นในวันที่ฝนไม่ตก เพ่อให้เหยื่อพิษ มีประสิทธิภาพอยู่ได้นานหลายวัน
3. กรณีที่หอยทากระบาดมากทั่วทั้งสวน ให้ใช้สารกำจัดหอย โดยเลือกใช้ชนิดใดชนิดหนึ่งดังต่อไปนี้
* นิโคลซาไมด์ (ไบลุสไซด์ 70%ดับบลิวพี)  เป็นผงสีเหลืองผสมน้ำในอัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
*เมทไทโอคาร์บ (เมซูโรล 50% ดับบลิวพี) เป็นผงสีขาวผสมน้ำในอัตรา 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
*เมทัลดีไฮด์ 80%ดับบลิวพี เป็นผงสีขาว ผสมน้ำในอัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
 ทั้งนี้ ควรพ่นสารในเวลาเช้าซึ่งในอากาศยังมีความชื้นหลงเหลืออยู่ โดยพ่นน้ำเปล่าก่อนพ่นสารประมาณ 10 นาที เพื่อให้ความชื้นในอากาศสูงขึ้นเพื่อชักนำให้หอยทากออกจากที่หลบซ่อน และสามารถสัมผัสสารฆ่าหอยได้เต็มที่ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการพ่นสารบริเวณส่วนดอก โดยให้พ่นสารบริเวณลำต้นส่วนกลาง บริเวณเครื่องปลูก รวมทั้งพื้นทางเดินระหว่างโต๊ะด้วย
 7. หอยทากสาริกา (หอยแว่น ,Sarika Snail)



การกำจัดหอยทากด้วยน้ำหมักฝักคูณ

การให้น้ำสำหรับกล้วยไม้


น้ำ 
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช หรือสัตว์
น้ำที่นำมาใช้รดกล้วยไม้นั้น ต้องเป็นน้ำสะอาด  และไม่มีความเป็นกรด หรือ เป็นด่างมาก แหล่งน้ำ เช่น น้ำประปา น้ำบาดาล น้ำบ่อ น้ำในแม่น้ำลำคลอง  และน้ำฝน 
การให้น้ำกล้วยไม้นั้น  ควรให้เวลาเช้าวันละครั้ง สำหรับกล้วยไม้ประเภทแตกกอ รดให้โชก  การรดให้โชกนั้นคือ รดส่ายไปมา 2-3 ครั้ง ไม่รดแช่จนโชก  ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องปลูก  และกระถางดูดซึมน้ำได้เต็มที่  **การรดแช่จนโชก จะทำให้น้ำขังยอดกล้วยไม้ทำให้บอบช้ำและยอดเน่าได้ง่าย
ตารางคุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมกับกล้วยไม้

ดัชนีคุณภาพน้ำค่ามาตรฐานหน่วย
ความเป็นกรด-ด่าง (pH)
5.2-6.2
การนำไฟฟ้า (EC)ไม่เกิน 750U mhos/cm.
โซเดียม (Na)ไม่เกิน 10meq/1
โซเดียมที่ละลายได้ (SSP)ไม่เกิน 60%
โซเดียมคาร์บอเนต หรือ ด่างที่เหลือ (RSC)
ไม่เกิน 2.5meq/1
อัตราการดูดซับโซเดียม (SAR)ไม่เกิน 2.0
ซัลเฟต (SO4)ไม่เกิน 10meq/1
ไบคาร์บอเนต (HCO3)ไม่เกิน 10meq/1


หมายเหตุ กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร ให้บริการตรวจวิเคราะห์คุณสมบัติน้ำ

ลักษณะการเจริญเติบโตของกล้วยไม้

การปลูกกล้วยไม้ ต้องทราบถึงลักษณะการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ เพราะมีความสำคัญมากในการขยายพันธุ์   การเจริญเติบโตของกล้วยไม้ มีการแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

          1) การเจริญเติบโตทางยอด  (Monopodium)  คือต้นกล้วยไม้ ที่ลำต้นจะยาวสูงขึ้นไปเรื่อยๆ  ระหว่างที่ยาวสูงขึ้นไปนี้จะมีรากงอกออกมาข้างกาบใบ เมื่อนานเข้าส่วนที่โคนก็จะแห้งตายเพราะความแก่ชรา  ดังนั้นการขยายพันธุ์กล้วยไม้จำพวกนี้ ต้องใช้วิธีตัดยอด  แต่ต้องตัดส่วนที่มีรากติดไปด้วย  เมื่อมีการขยายพันธุ์ด้วยการตัดยอด  แล้วก็จะมีหน่อที่แต่ใหม่ เจริญเติบโตออกมาจากตาที่อยู่ข้างลำต้น  ซึ่งบางทีอาจแตกออกมาพร้อมกัน 2 หน่อก็ได้     การแทงช่อดอกของกล้วยไม้ในลักษณะนี้  ช่อดอกจะออกข้างๆลำต้น  บริเวณด้านบนของกาบใบ
          กล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตทางยอดนี้ ได้แก่ สกุลช้าง (Rhynchostylis) , สกุลแวนด้า (Vanda) , สกุลมอคคาร่า (Mokara) ,  สกุลเข็ม (Ascocentrum) , สกุลฟาแลนอปซิส (Phalaenopsis) , สกุลอะแรคนิส (Arachnis)  เป็นต้น

          2) การเจริญเติบโตด้วยการแตกหน่อ  ลักษณะการเจริญเติบโตแบบนี้  ลำต้นจริงๆของกล้วยไม้ จะนอนราบอยู่กับพื้นผิวดิน หรือเครื่องปลูก ซึงทางวิชาการเรียกว่า "เหง้า"  (Rhizome)   และมีส่วนของเหง้า เป็นข้อปล้อง  แต่ละข้อปล้องจะมี 2 ตา  เพื่อเกิดเป็นหน่อใหญ่  เมื่อหน่อเจริญขึ้น  ก็จะเกิดเป็นลำลูกกล้วย เมื่อลำลูกกล้วยเจริญงอกงามสมบูรณ์ ก็จสร้างเหง้าต่อออกไป และเกิดลำลูกกล้วยใหม่ เช่นนี้ไปเรื่อยๆ 
          การเกิดเหง้าใหม่  แตกเป็นลำลูกกล้วยเพิ่มขึ้นมา  ถ้าผู้เลี้ยงมีฝีมือดีก็จะเลี้ยงกล้วยไม้ได้เป็นกอใหญ่  และสมบูรณ์ ออกดอกได้หลายลำลูกกล้วย ทำให้ดูสวยงามมาก  ถ้านำเข้าประกวดก็จะได้รางวัลดีๆทีเดียว
          กล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตด้วยการแตกหน่อนี้ ได้แก่  พวกสกุลหวาย  ,  แคทลียา  ,  รองเท้านารี   , ออนซิเดียม  และอื่นๆอีกมาก



ประเภทของกล้วยไม้ แบ่งตามลักษณะราก


กล้วยไม้ เป็นพืชที่มีระบบราก ไม่เหมือนพืชอื่นๆ  โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท  คือ ประเภทกล้วยไม้ดิน และ ประเภทกล้วยไม้อากาศ
1)  ประเภทกล้วยไม้ดิน  กล้วยไม้ประเภทนี้ โดยปกติแล้ว จะอาศัยอยู่ที่ซากอินทรีย์วัตถุ ที่ตายทับถมเน่าเปื่อยผุพังไปแล้วนานๆตามผิวดิน  และใช้อินทรีย์วัตถุเน่านั้นเป็นอาหารด้วย  เช่น  กล้วยไม้สกุลไฟอัส (Phaius) คือ เอื้องพร้าว  , สกุลฮาเบนาเรีย (Habenaria) ได้แก่ ลิ้นมังกร , สกุล Ludisia  ได้แก่  ว่านน้ำทอง และ สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum) เป็นต้น
2)  ประเภทกล้วยไม้อากาศ  กล้วยไม้ประเภทนี้ มักจะทรงต้นอยู่ได้ด้วยการใช้รากเป็นจำนานมาก  อาศัยเกาะอยู่ตามต้นไม้ กิ่งไม้ คบไม้ และบางชนิดเกาะอยู่กับก้อนหินก็ได้   กล้วยไม้อากาศเหล่านี้ ไม่ได้ดูดน้ำเลี้ยง หรือแบ่งอาหาร  โดยการทำลายหรือทำอันตรายแก้ต้นไม้ที่มันเกาะ   มันเพียงแต่เกาะอยู่เพื่ออาศัยเท่านั้น 
    อาหารส่วนใหญ่ของกล้วยไม้รากอากาศ ได้แก่ แร่ธาตุต่างๆที่มีอยู่ในอากาศ  เพราะกล้วยไม้จำพวกนี้มีระบบรากพิเศษ  สามารถดูดแร่ธาตุอาหารที่มีอยู่ในอากาศได้ นอกจากนี้ยังได้พวกอินทรีย์วัตถุต่างๆ ที่เน่าเปื่อนผุพังไปแล้ว ได้แก่ พวกเปลือกไม้ หรือไม้ที่ผุแล้ว เป็นอาหารอีกทางหนึ่งด้วย   ซึ่ง ได้แก่ กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) , สกลุแวนด้า (Vanda) , สกุลเข็ม (Ascocentrum) , สกุลช้าง (Ryhnchostylis) เป็นต้น

โรคกล้วยไม้ และ สารป้องกันกำจัด


โรคกล้วยไม้ที่สำคัญ ลักษณะอาการ การแพร่ระบาด และการป้องกันกำจัด
1.โรคเน่าดำ โรคยอดเน่า หรือ โรคเน่าเข้าไส้ (Black rot)
ลักษณะอาการ
เกิดได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ เกือบทุกสกุล สามารถสังเกตsอาการของโรคได้ดังนี้
  • ราก : เป็นแผลสีดำ เน่า แห้ง ยุบตัวลง หรือ รากเน่าแห้งแฟบ ต่อมาเชื้อจะลุกลามเข้าไปในต้น
  • ต้น : เชื้อราเข้าทำลายได้ทั้งทางยอด และโคนต้น ทำให้ยอดเน่าดำ ถ้าทำลายโคนต้นใบจะเหลือง และหลุดร่วงจนหมด เรียกว่า โรคแก้ผ้า
  • ใบ : เป็นจุดใส ชุ่มน้ำ สีเหลือง ต่อมาสีเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แล้วเป็นสีดำในที่สุด ในสภาพที่มีความชื้นสูง แผลจะขยายใหญ่ลุกลามอย่างรวดเร็ว  เชื้อราจะสร้างเส้นใยสีขาวละเอียด บนแผลเน่าดำนั้น
  • ก้านช่อดอก : เป็นแผลเน่าดำ ลุกลามจนก้านช่อดอกหักพับ
  • ดอก : เป็นจุดแผลสีดำ มีสีเหลืองล้อมรอบแผลนั้น กรณีที่เป็นกับดอกตูมขนาดเล็ก ดอกจะเน่าแล้วหลุดจากก้านช่อ
การแพร่ระบาด
โรคนี้แพร่ได้ง่ายเนื่องจากสปอร์ของเชื้อราจะกระเด็นไปกับน้ำในระหว่างการรดน้ำ มักระบาดในฤดูฝน โดยกระเด็นไปกับน้ำฝน
การป้องกันกำจัด
  • อย่าปลูกกล้วยไม้แน่นจนเกินไป
  • ถ้าพบโรคนี้ในระยะลูกกล้วยไม้ให้แยกออก ถ้าเป็นกับต้นกล้วยไม้ที่โต ให้เผาทำลาย
  • ไม่ควรให้น้ำกล้วยไม้ตอนเย็นใกล้ค่ำ  โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว เพราะจะทำให้เกิดสภาพอากาศเย็น ความชื้นสูง ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อนี้  โรคจะแพร่ระบาดรุนแรงได้ง่ายขึ้น
  • ในกรณีที่ปลูกกล้วยไม้บนพื้นดินเหนียว ควรรองพื้นด้วยขี้เถ้าแกลบก่อนปูด้วยกาบมะพร้าว เพื่อช่วยระบายน้ำ และช่วยป้องกันไม่ให้โรคนี้ทำลายกล้วยไม้ในระยะแรก
2. โรคดอกสนิม หรือจุดสนิม (Flower rusty spot)
 ลักษณะอาการ
เป็นโรคที่พบมากในกล้วยไม้สกุลหวาย โดยจะเกิดเป็นจุดขนาดเล็ก สีเหลืองอมน้ำตาลบนกลีบดอก เมื่อจุดขยายโตขึ้นจะมีสีเข้มคล้ายสีของสนิม
การแพร่ระบาด
โรคจะระบาดอย่างรวดเร็ว ถ้ามีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือมีน้ำค้างลงจัด
การป้องกันกำจัด
  • เก็บดอกกล้วยไม้ ทั้งที่ร่วงและเป็นโรคเผาทำลาย
  • น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ ที่ไม่ใช่น้ำประปา ควรผ่านการฆ่าเชื้อด้วยผงคลอรีน อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 400 ลิตร  แล้วปล่องทิ้งค้างคืนจนหมดกลิ่น จึงนำไปใช้
  • การใช้ปุ๋ยในระยะออกดอก ควรใช้ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมสูง เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อโรค หรือลดความรุนแรงของโรค
3. โรคใบปื้นเหลือง (Yellow leaf spot)
ลักษณะอาการ
เกิดจุดกลมสีเหลืองที่ใบบริเวณโคนต้น ถ้าอาการรุนแรงจุดเหล่านี้จะขยายติดต่อกันเป็นปื้นสีเหลืองตามแนวยาวของใบ เมื่อพบดูด้านหลังใบจะพบกลุ่มผงสีดำ ในที่สุดใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและหลุดร่วงจากต้น
การแพร่ระบาด
โรคนี้แพร่ระบาดมากช่วงปลายฤดูฝน จนถึงฤดูหนาว โดยสปร์จะปลิวไปตามลม หรือกระเด็นไปกับละอองน้ำที่ใช้รดต้นกล้วยไม้
การป้องกันกำจัด
  • เก็บรวบรวมใบที่เป็นโรค เผาทำลาย
4. โรคใบจุด หรือโรคใบขี้กลาก (Leaf Spot)
ลักษณะอาการ
  • กล้วยไม้สกุลแวนด้า  มีลักษณะแผลเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวย ถ้าเป็นมาก แผลจะรวมกันเป็นแผ่น บริเวณตรงกลางแผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาลดำ  ลูบจะรู้สึกสากมือ  ชาวสวนจึงเรียกโรคนี้ว่า โรคขี้กลาก
  • กล้วยไม้สกุลหวาย  มีลักษณะแผลเป็นจุดกลมสีน้ำตาลเข้ม หรือดำ  ขอบแผลมีสีน้ำตาลอ่อน แผลมีขนาดเท่าปลายเข็มหมุด จนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 1 เซนติเมตร  บางครั้งแผลจะบุ๋มลึกลงไป หรืออาจนูนขึ้นมาเล็กน้อย หรือเป็นสะเก็ดสีดำเกิดขึ้นได้ทั้งด้านบน และ ใต้ใบ บางครั้งอาจมีอาการเป็นจุดกลมสีเหลือง เห็นได้ชัดเจนก่อน แล้วจึงค่อยๆเปลี่ยนเป็นจุดสีดำทั้งวงกลม
การแพร่ระบาด
แพร่ระบาดได้ตลอดปี สำหรับกล้วยไม้สกุลแวนด้า ระบาดมากในช่วงปลายฤดูฝน จนถึงฤดูหนาว โดยสปอร์ของเชื้อรา  ปลิวไปตามลม หรือกระเด็นไปกับน้ำ
การป้องกันกำจัด
  • รวบรวมใบที่เป็นโรคเผาทำลาย
5. โรคเน่า (Rot)
ลักษณะอาการ
เริ่มแรกเป็นจุดฉ่ำน้ำบนใบหรือหน่ออ่อน จากนั้นแผลจะเริ่มขยายขนาดขึ้น และเนื้อเยื่อมีลักษณะเหมือนถูกน้ำร้อนลวก ใบจะพองเป็นสีน้ำตาล ขอบแผลมีสีเหลืองเห็นได้ชัดเจน ภายใน 2-3 วัน เนื้อเยื่อใบจะโปร่งแสง มองเห็นเส้นใบ ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้กล้วยไม้เน่ายุบตายทั้งต้น
การแพร่ระบาด
ในสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง โรคจะแพร่ระบาดอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
การป้องกัน
  • เก็บรวบรวมส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย
  • ควรปลูกกล้วยไม้ในโรงเรือนหรือใต้หลังคาพลาสติก ถ้ามีโรคเน่าระบาดให้งดการให้น้ำระยะหนึ่ง อาการเน่าจะแห้ง ไม่ลุกลามหรือระบาด
6. โรคไวรัส (Virus)
ลักษณะอาการ
อาการที่ปรากฏแตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้อไวรัส และชนิดของกล้วยไม้ บางครั้งกล้วยไม้ที่มีเชื้อไวรัสอยู่อาจจะแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการออกมาให้ปรากฏก็ได้  ลักษณะอาการที่มักพบบ่อยๆมีดังนี้
1. ลักษณะใบด่าง ตามแนวยาวของใบ มีสีเขียวอ่อนผสมสีเขียวเข้ม
2. ยอดบิด ช่วงข้อจะถี่สั้นแคระแกร็น
3. ช่อดอกสั้น กลีบดอกบิด เนื้อเยื่อหน่าแข็งกระด้าง บางครั้งกลีบดอกจะมีสีซีดตรงโคนกลีบ หรือ ดอกด่างซีด ขนาดเล็กลง
การแพร่ระบาด
เชื้อไวรัสแพร่ระบาดได้ง่ายโดยติดไปกับเครื่องใช้ต่างๆ เช่น มีด กรรไกร ที่ใช้ตัดหน่อเพื่อขยายพันธุ์ หรือใช้ตัดดอกและตัดแต่งต้น
การป้องกันกำจัด
1. ถ้าพบต้นกล้วยไม้อาการผิดปกติดังกล่าว ใหเแยกออกแล้วนำไปเผาทำลาย อย่านำไปขยายพันธุ์
2. ทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ทุกครั้งที่มีการตัดแยกหน่อ หรือดอก โดยจุ่มในน้ำสบู่ น้ำผงซักฟอกทุกครั้งเพื่อฆ่าเชื้อก่อน
3. ควรดูแลรักษาต้นกล้วยไม้ให้สมบูรณ์อยู่เสมอ
4. ควรตรวจสอบพันธุ์กล้วยไม้ก่อนนำไปขยายพันธุ์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

7.โรคราเมล็ดผักกาด (Stem rot)
สาเหตุ  เชื้อรา Sclerotium rolfsii Sacc.
ลักษณะอาการ  
เชื้อราจะเข้าทำลายกล้วยไม้บริเวณราก หรือโคนต้น บริเวณที่ถูกทำลายจะเป็นสีเหลืองและน้ำตาล ตามลำดับ  เนื้อเยื่อจะผุเปื่อย  ถ้าอากาศชื้นมากๆ จะมีเส้นใยสีขาวแผ่ปกคลุมบริเวณโคนต้น พร้อมกับมีเมล็ดกลมๆขนาดเล็กสีเหลืองอมน้ำตาล คล้ายเมล็ดผักกาดเกาะอยู่ตามโคนต้น
การแพร่ระบาด 
ทำความเสียหายมากในฤดูฝน เชื้อราจะแพร่กระจายไปกับลมและน้ำ
การป้องกันกำจัด
ตรวจดูแปลงอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบต้นที่เป็นโรคให้เก็บรวบรวมแล้วเผาทำลาย
พ่น ไวตาแวกซ์ หรือ คูเลเตอร์ สารคาร์บอกซิน 75% อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน/ครั้ง





การใช้สารป้องกันกำจัดโรคที่สำคัญของกล้วยไม้


โรค
สารป้องกันกำจัดโรค
         (ชื่อสามัญ)
อัตราการใช้ /
น้ำ 20 ลิตร
วิธีการใช้
โรคเน่าดำ/
โรคยอดเน่า/
โรคเน่าเข้าไส้
ฟอสฟอรัสแอซิด  30-50 มิลลิลิตร
อีทริไดอะโซล 20 กรัม
เมทาแลกซิล 40 กรัม
ฟอสเอทธิล-อะลูมิเนียม 25-50 กรัม
ควรพ่นในช่วงที่แดดไม่จัด
ไม่ควรผสมกับปุ๋ยและสารเคมีอื่นๆ
ควรพ่นสลับกับสารเคมีอื่น
อัตราต่ำ ใช้ป้องกันโรค /อัตราสูงใช้กำจัดโรค
ไม่ควรใช้ผสมกับปุ๋ยใดๆ
โรคดอกสนิม/
โรคดอกจุด
แมนโครเซบ  30 กรัม
ควรพ่นให้ทั่วและควรผสมสารเสริมประสิทธิภาพ
โรคใบปื้นเหลือง
คาร์เบนดาซิม 20 กรัม
แมนโครเซบ 30 กรัม
เบโนมิล 6-8 กรัม
ควรพ่นสารให้ถูกกับพื้นที่ผิวใบ
ใบที่มีสปอร์ และปรับหัวพ่นเพื่อให้ทั่วทั้งบนใบและใต้ใบ
ควรพ่นสารอื่นสลับกันเพื่อป้องกันการต้านทานสารเคมี
ใบจุด/
ใบขี้กลาก

โรคเน่า
คาร์เบนดาซิม 20 กรัม
แมนโครเซบ 30 กรัม
สเตรปโตมัยซิน 10 กรัม
ออกซิเตตตระไซครินโปรเคน
เพนนิซิลิน-จี
คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 20 กรัม
 ระยะเวลาในการพ่นสาร ขึ้นอยู่กับความรุนแรง และการระบาด
ห้ามใช้ในอัตราที่เข้มข้นมากกว่าที่กำหนด
หรือใช้ติดต่อกันเกิน 2 ครั้ง ควรสลับด้วยสารในกลุ่มสัมผ้ส
 โรคไวรัส
  ผงซักฟอก 400 กรัม
 ทำควรสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ทุกครั้งที่มีการตัดแยกหน่อ
หรือดอก  โดยการจุ่มในสารละลายผงซักฟอก