วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

การปลูกเลี้ยงรองเท้านารี


รองเท้านารี
กล้วยไม้รองเท้านารี (Paphiopedilum spp.) หรือที่รู้จักในนาม "Lady Slipper" เนื่องจากลักษณะของกลีบปากที่มีลักษณะคล้ายรองเท้าของผู้หญิงนั้นเอง อันเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า “lady slipper” หรือ “slipper orchid” กลีบปากที่เป็นกระเป๋านี้ยังได้ซ่อนกลเม็ดอันแยบยล เป็นกล้วยไม้ที่พบในเขตร้อนและเขตอบอุ่น


ประเทศไทยเป็นแหล่งที่พบแหล่งใหญ่ของกล้วยไม้รองเท้านารีหลากหลายชนิด  ทั่วโลกพบประมาณ 70 ชนิด
ส่วนมากชื่อตั้งตามแหล่งที่พบ เช่น ขาวสตูล เหลืองกระบี่ โดยแบ่งกว้างๆได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

กลุ่มที่มีกลีบดอกแผ่กว้าง ดอกมีลักษณะกลมหรือเกือบกลม สีพื้นดอกมักเป็นสีขาว ขาวครีม เหลืองอ่อน
หรือเหลือง พบจุดประเล็กๆสีเข้มกระจายบนพื้นดอก ใบสั้นและแผ่กว้างมีลายตารางหรือคล้ายหินอ่อน

1.รองเท้านารีเหลืองปราจีน (Paphiopedilum concolor)
2.รองเท้านารีเหลืองอุดร (Paph. concolor)
3.รองเท้านารีเหลืองกาญจน์ (Paph. concolor Var stratianum)
4.รองเท้านารีเหลืองตรัง (Paph. godefroyae)
5.รองเท้านารีเหลืองพังงา (Paph. leucochilum)
6.รองเท้านารีขาวชุมพร (Paph. godefroyae)
7.รองเท้านารีขาวสตูล (Paph. niveum)
8.รองเท้านารีช่องอ่างทอง (Paph. x Angthong)
9.รองเท้านารีฝาหอย (Paph. bellatulum)

กลุ่มที่มีกลีบดอกแคบเรียวยาว บางชนิดพบจุดไฝสีดำ หรือกลีบดอกบิดเป็นเกลียว
มีความหลากหลายของสีสันรูปทรงของดอกมาก ใบยาวและแคบ บางชนิดพบลายตารางหรือคล้ายหินอ่อน
(ชนิดที่ 10-14) บางชนิดใบเขียวไม่มีลาย

10.รองเท้านารีคางกบคอแดง (Paph. appletonianum)
11.รองเท้านารีคางกบ (Paph. collosum)
12.รองเท้านารีม่วงสงขลา (Paph. babartum)
13.รองเท้านารีเกาะช้าง (Paph. simensis)
14.รองเท้านารีปีกแมลงปอ (Paph. sukhakulii)
15.รองเท้านารีหนวดฤาษี (Paph. parishii)
16.รองเท้านารีเชียงดาว (Paph. parishii)
17.รองเท้านารีอินซิกเน่ (Paph. insigne)
18.รองเท้านารีอินทนนท์ (Paph. villosum)
19.รองเท้านารีอินทนนท์ใบแคบ (Paph. gatrixianum)
20.รองเท้านารีดอยตุง (Paph. chaleswherthii)
21.รองเท้านารีดอยตุงกาญจน์ (Paph. sp.)
22.รองเท้านารีเหลืองกระบี่ (Paph. exul)
23.รองเท้านารีเหลืองเลย (Paph. hirsutissimum)

การปลูกรองเท้านารีนิยมปลูกในกระถางดินเผาหรืกระถางพลาสติคก็ได้ ปกติรองเท้านารีต้องการความชื้นสูงแต่ไม่ชอบแฉะซึ่งต้องพิจารณาสายพันธุ์ด้วยว่าปกติเวลาสายพันธุ์นั้นอยู่ในธรรมชาติอาศัยอยู่อย่างไร
การเจริญเติบโตของรองเท้านารีแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
1.ขึ้นอยู่ตามหน้าผาและซอกหิน ซึ่งมีใบไม้และอินทรีย์สารผุพังทับถมอยู่ บางชนิดขึ้นอยู่กับหินปูน
2.ขึ้นอยู่ตามกิ่งไม้ใหญ่หรือเปลือกไม้ รองเท้านารีจำพวกนี้เป็นพวกรากอากาศ
เครื่องปลูกของรองเท้านารี ในส่วนเครื่องปลูกของรองเท้านารีนั้นมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการปลูก เนื่องจากผู้ปลูกรองเท้านารีใหม่หากไม่ได้ศึกษาถึงนิสัยของรองเท้านารีสายพันธุ์นั้นๆแล้ว ส่วนมากจะเลี้ยงไม้รอดสักราย เครื่องปลูกที่นิยมใช้ก็มีเช่น อิฐมอญ เปลือกถั่วลิสง หินเกล็ด หินภูเขาไฟ โฟมเม็ด ดินขุยไผ่ ซึ่งแต่ละชนิดก็ใช้เครื่องปลูกต่างกัน ดังนั้นลองศึกษาหาความรู้แล้วนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิธีเลี้ยงของแต่ละท่านนะครับ

รองเท้านารีเมืองกาญจน์ Paphiopedilum parishii (Rchb. f.) Pfitz.
เป็นกล้วยไม้รองเท้านารีชนิดหนึ่งในสองชนิดที่พบขึ้นบนพื้นผิวของต้นไม้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นต้นไม้ที่มีลักษณะ ผิวหนาสามารถอุ้มความชื้นได้ดี และช่วยให้ระบบรากพึ่งพาอาศัยได้มาก รวมทั้งมีอัตราการผุของผิวสามารถป้อนอาหารจากอินทรีย์วัตถุ ให้กับรากได้อย่างดีด้วย พบในทำเลซึ่งอยู่บนภูเขา ซึ่งมีระดับความสูงจากน้ำทะเลไม่ต่ำกว่า ๗๐๐ เมตร เช่นในบริเวณตอนเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี และบริเวณเทีอกเขาภูหลวงจังหวัดเลย และอาจเลยเข้าไปถึงจังหวัดใกล้เคียงใบมีสีเขียวปลอด ทรงต้นมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าประเภทใบลายที่ได้กล่าวมาแล้ว ช่อดอกอาจยาวถึง ๓๐ ซม. และมีดอกบนก้านช่อได้ถึง ๗-๘ ดอก กลีบดอกสีเขียว ปลายกลีบสีม่วงปนน้ำตาลคล้ำ กลีบในเรียวแคบ และบิดเป็นเกลียวเล็กน้อยฤดูดอกประมาณ ระหว่าง เดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม ในจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย แม้ในบรรยากาศของเมืองซึ่งอยู่ในที่ราบก็มีผู้สามารถปลูกและให้ดอกได้ดี แต่จากกรุงเทพลงไปสู่ภาคใต้ปลูกค่อนข้างยาก

รองเท้านารีเหลืองปราจีน
เป็นกล้วยไม้ที่มีลักษณะเป็นพุ่มกว้างประมาณ 20-25ซม. สูงประมาณ 10-20 ซม. ใบกว้าง 2.5-3.5ซม. ด้านบนใบเป็นลายสีเขียวเข้มสลับเขียวอ่อน ใต้ท้องใบมีจุดประสีม่วงเล็กน้อย ดอกกว้างประมาณ 3.7-7ซม. ช่อหนึ่งมี1-2ดอก กลีบบนและกลีบในสีเหลืองมีจุดประสีม่วงกระจายทั่วกลีบ สามารถพบอยู่ตามภูเขาหินปูน โดยขึ้นอยู่สูง 300-500เมตรจากระดับน้ำทะเล บริเวณป่าเบญจพรรณ โดยขึ้นอยู่ในพื้นที่ค่อนข้างแฉะ ความชื้นสูง ซากใบไม้ผุพังทับถม ได้รับแสงค่อนข้างน้อย กระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และตอนใต้ของจีน
รองเท้านารีคางกบ
เป็นรองเท้านารีประเภทใบลาย ปลายใบเรียวแหลม ไม่มน ดอกมีไฝ คล้ายจุดใหญ่ๆแต่มีขนที่จุดประปรายอยู่ตามผิวของกลีบในทั้งคู่กลีบนอกบนตั้งและกว้างเล็กน้อย ริมกลีบสีขาว ด้านในมีเส้นสีม่วงคล้ำบนพื้นที่สีเขียว กลีบในทั้งคู่แคบ เฉียงลงด้านล่างเล็กน้อย ก้านดอกยาวปรมาณ 15-20ซม. ก้านดอกแข็ง ให้ดอกเดี่ยว ปกติให้ดอกช่วงเดือนกค.-สค. ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน แหล่งกำเนิดอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500-700 ม. ซึ่งค่อนข้างสูง ซึ่งสามารถปลูกในภาคเหนือได้ดี ถ้านำมาเลี้ยงในอากาศทั่วไปของภาคกลางจะให้ดอกยาก
รองเท้านารีเหลืองกระบี่ Paphiopedilum exul
มีถิ่นกำเนิดในป่าดิบชื้นจังหวัดกระบี่ ลักษณะลำต้นเป็นพุ่ม ใบยาวสีเขียวเป็นมัน ขนาดกว้าง 3-3.5 ซม. ยาว 30-35ซม.ไม่มีลาย ดอกเป็นลักษณะดอกเดี่ยว ก้านดอกสีเขียว ยาว 13-15ซม. เมื่อดอกบานเต็มที่ จะมีขนาด 6-6.5ซม. กลีบเป็นมันงุ้มด้านหน้า กลีบดอกบนสีขาว กึ่งกลางมีสีเหลืองปนเขียว และมีแต้มสีน้ำตาลเข้มรูปทรงหัวใจ ดอกออกประมาณมค.-มีค. มีการเจริญเติบโตแบบแตกกอ สามารถปลูกเลี้ยงให้เป็นกอใหญ่ออกดอกคราวละหลายๆช่อจะดูสวยงามมาก นิสัยชอบแดดมากและความชื้นสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น