1. เพลี้ยไฟฝ้าย (Cotton Thrips)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thrips palmi Karny ชื่ออื่นๆ ตัวกินสี
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ช่อดอก
ลักษณะการทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายดอกกล้วยไม้ โดยใช่ปากเขี่ยเนื่อเยื่อให้ช้ำแล้วดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืช บริเวณที่ถูกทำลายเกิดรอยด่างขาว
ทำลายกล้วยไม้เกือบตลอดปี แต่พบน้อยในช่วงฤดูฝน
การป้องกันกำจัด
ใช้สารฆ่าแมลงเป็นกลุ่มๆดังนี้
กลุ่ม 1 *อิมิดาโคลพริด (คอร์ฟิดอร์ 100 เอสแอล) อัตรา 10-20 ml./ น้ำ 20 ลิตร
* อะเซทามิพริด (โมแลน 20 % เอสพี) อัตรา 10-20 กรัม / น้ำ 20 ลิตร
กลุ่ม 2 *อะบาเม็กติก (แจคเก็ต , เวอร์ทิเม็ค 1-8 % อีซี) อัตรา 10-20 ml./ น้ำ 20 ลิตร
กลุ่ม 3 * ฟิโปรนิล (แอสเซ้นด์ 5% เอสซี) อัตรา 20 ml./ น้ำ 20 ลิตร
กลุ่ม 4 *ไซเพอร์เมทริน / โฟซาโลน (พาร์ซอน 28.75% อีซี) อัตรา 40 มิลลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร
* เพื่อป้องกันการสร้างความต้านทานสารฆ่าแมลงในเพลี้ยไฟ ควรพ่นสารสลับกัน แต่ไม่ควรพ่นติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง โดยใช่ช่วงพ่น 5-7 วัน /ครั้ง ในฤดูร้อน , 7-10 วัน / ครั้ง ในฤดูฝน และพ่นให้ทั่วเป็นละอองฝอย โดยเฉพาะบริเวณส่วนดอก
2. บั่วกล้วยไม้ (Orchid midge) , ชื่อวิทยาศาสตร์ :Contarinia sp. ชื่ออื่นๆ :ไอ้ฮวบ , แมลงวันดอกกล้วยไม้
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย กลีบดอก มักเป็นกล้วยไม้สกุลหวาย
ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนจะกัดกินกลีบดอกด้านใน ทำให้กลีบดอกเกิดอาการผิดปรกติ มีผลทำให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต บิดเบี้ยว และหงิกงอ ต่อมาจะมีอาการเน่าเหลือง ฉ่ำน้ำและหลุดล่วงจากช่อดอก หากพบระบาดรุนแรง ดอกตูมจะหลุดร่วงอย่างรวดเร็วฮวบฮาบ จนเหลือแต่ก้านดอก จึงเป็นชื่อเรียกว่า 'ไอ้ฮวบ'
การป้องกันกำจัด
1. ใช้วิธีกล โดยทำลายดอกตูมที่มีอาการเน่า ฉ่ำน้ำ หรือแสดงอาการบิดเบี้ยว
2. หากพบมีการระบาดรุนแรง ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลง ไซเพอร์เมทริน / โฟซาโลน (พาร์ซอน 28.75% อีซี) อัตรา 40 มิลลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์ 20% อีซี) อัตรา 50 มิลลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร กำหนดการพ่น 5-7 วัน /ครั้ง จนกว่าการระบาดจะลดลง
3. ไรแดงเทียม (False spider mite) ชื่อวิทยาศาตร์ Teunipalpus pacificus Baker
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ลำต้น ใบ ราก
ลักษณะการทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและดอก ถ้าทำลายที่ใบจะทำให้เกิดจุดด่าง ผิวใบไม่เรียบและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นจนถึงน้ำตาล บางครั้งบริเวณที่ถูกทำลาย มีสีแดงเป็นปื้น หรือสีน้ำตาลไหม้เกรียม ถ้าทำลายที่ดอกจะทำให้บริเวณที่ถูกดูดกินเป็นสีม่วงเข้ม เห็นได้ชัดในพวกกลีบดอกสีขาว
การป้องกันกำจัด
1. ไม่ควรปลูกกล้วยไม้ในลักษณะที่แออัดมากเกินไป โดยเฉพาะกล้วยไม้ที่มีการแตกหน่อและใบแน่นทึบ เพราะทำให้ยากแก่การดูแลรักษา โดยเฉพาะการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช อาจทำได้ไม่ทั่วถึง
2. ใบและช่อดอกที่ถูกไรแดงทำลาย ควรนำไปเผาทำลาย เพื่อลดปริมาณไรให้เหลือน้อยที่สุด
3. พ่นสารฆ่าไรให้ทั่วทุกจุดเช่น ใต้ใบ หรือช่อดอก สลับสารฆ่าไรตามความเหมาะสม เพื่อป้องการการดื้อสารเคมี สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่แนะนำ
ถ้ามีการระบาดมาก ใช้สารกำจัดไร อามีทราซ (ไมแทค 20% อีซี) อัตรา 30-40 มิลลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร พ่นทุกๆ 3-4 วัน ในช่วงที่มีการระบาด แต่ไม่ควรพ่นขณะแดดจัด เพราะจะทำให้ดอกไหม้
4. หนอนกระทู้ผัก ,หนอนกระทูฝ้าย , หนอนกระทู้ยาสูบ (Cluster caterpillar ,Cotton leafworm , Tobacco cutworm , Common cutworm)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Spodoptera litura Fabricius
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ดอกและใบ โดยหนอนจะกัดกินส่วนดอกและใบ
การป้องกันกำจัด
1. ใช้วิธีกล โดยเก็บกลุ่มไข่และหนอนไปทำลาย เป็นวิธีที่ได้ผลดี และมีประสิทธิภาพ
2. ใช้เชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ ไวรัส เอ็นพีวี ของหนอนกระทู้ผัก อัตรา 30 มิลลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบอัตราตามฉลาก ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5 วันในช่วงหนอนระบาด
3. ใช้สารฆ่าแมลง เมื่อมีการระบาดให้พ่นด้วยสารระงับการลอกคราบ ได้แก่ คลอร์ฟูอาซูรอน อัตรา 20 มิลลิลิตร /น้ำ 20 ลิตร โดยกำหนดช่วงพ่น 5-7 วัน /ครั้งติดต่อกัน จนกว่าการระบาดจะลดลง
5. หนอนกระทู้หอม, หนอนหนังเหนียว ,หนอนเขียว (Beet armyworm ,Lesser worm ,Onion cutworm)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Spodoptera exigus Hubner
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ดอกและใบ
การป้องกันกำจัด
1. ใช้วิธีกล โดยเก็บกลุ่มไข่และหนอนไปทำลาย เป็นวิธีที่ได้ผลดี และมีประสิทธิภาพ
2. ใช้เชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ *ไวรัส เอ็นพีวี ของหนอนกระทู้ผัก อัตรา 30 มิลลิลิตร / น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบอัตราตามฉลาก ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5 วันในช่วงหนอนระบาด *เชื้อแบคทีเรีย (Bt) เช่น เซนทารี อัตรา 60 กรัม / น้ำ 20 ลิตร ,เดลฟีน อัตรา 40 กรัม / น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5 วัน
3. สารสกัดสะเดา ในอัตรา 100 มิลลิลิตร /น้ำ 20 ลิตร
4. ใช้สารฆ่าแมลง ได้แก่ ไดอะเฟน ไทยูรอน (โปโล 25% )อัตรา 40 มิลลิลิตร /น้ำ 20 ลิตร
6. หอยทากซัคซิเนีย (Amber Snail) ชื่อวิทยาศาตร์ Succinea chrysys West
ส่วนของพืชที่ถูกทำลาย ตาหน่อ ตาดอก และช่อดอก
ลักษณะการทำลาย หอยทากซัคซิเนีย ระบาดทำลายกล้วยไม้ในแปลงที่มีความชื้นสูง โดยเข้าทำลายตาหน่อ ตาดอก และช่อดอก นอกจากนี้ เมือกที่หอยปล่อยไว้ตลอดแนวที่เดินผ่าน เป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อโรค หรือเชื้อราเข้าทำลายกล้วยไม้ได้อีกด้วย
รูปร่าง หอยทากชนิดนี้เป็นหอยทากขนาดเล็ก มีความกว้าง 0.5-0.6 ซม. สูง 0.8-0.9 ซม.
การแพร่กระจาย และฤดูกาลที่ระบาด แปลงกล้วยไม้ที่มีความชื้นสูง และพบระบาดมากในฤดูฝน
การป้องกันกำจัด
1. เครื่องปลูก เช่น กาบมะพร้าว ควรอบ หรือ ตากแห้ง หรือ ชุบสารกำจัดหอยก่อนนำไปปลูก เพื่อป้องกันกำจัดไข่หอย หรือลูกหอยที่ติดมา
2. เมื่อเริ่มพบหอยทาก ให้วางเหยื่อพิษสำเร็จรูปเมทัลดีไฮด์ มีลักษณะเป็นเม็ด โดยวางเป็นจุด ประมาณปลายช้อนชา ตามโคนต้นกล้วยไม้ในแหล่งที่พบหอยทาก ภายหลังจากที่ให้น้ำกล้วยไม้แล้ว หรือเวลาเย็นในวันที่ฝนไม่ตก เพ่อให้เหยื่อพิษ มีประสิทธิภาพอยู่ได้นานหลายวัน
3. กรณีที่หอยทากระบาดมากทั่วทั้งสวน ให้ใช้สารกำจัดหอย โดยเลือกใช้ชนิดใดชนิดหนึ่งดังต่อไปนี้
* นิโคลซาไมด์ (ไบลุสไซด์ 70%ดับบลิวพี) เป็นผงสีเหลืองผสมน้ำในอัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
*เมทไทโอคาร์บ (เมซูโรล 50% ดับบลิวพี) เป็นผงสีขาวผสมน้ำในอัตรา 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
*เมทัลดีไฮด์ 80%ดับบลิวพี เป็นผงสีขาว ผสมน้ำในอัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
ทั้งนี้ ควรพ่นสารในเวลาเช้าซึ่งในอากาศยังมีความชื้นหลงเหลืออยู่ โดยพ่นน้ำเปล่าก่อนพ่นสารประมาณ 10 นาที เพื่อให้ความชื้นในอากาศสูงขึ้นเพื่อชักนำให้หอยทากออกจากที่หลบซ่อน และสามารถสัมผัสสารฆ่าหอยได้เต็มที่ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการพ่นสารบริเวณส่วนดอก โดยให้พ่นสารบริเวณลำต้นส่วนกลาง บริเวณเครื่องปลูก รวมทั้งพื้นทางเดินระหว่างโต๊ะด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น