กล้วยไม้ เป็นพืชที่มีระบบราก ไม่เหมือนพืชอื่นๆ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทกล้วยไม้ดิน และ ประเภทกล้วยไม้อากาศ
1) ประเภทกล้วยไม้ดิน กล้วยไม้ประเภทนี้ โดยปกติแล้ว จะอาศัยอยู่ที่ซากอินทรีย์วัตถุ ที่ตายทับถมเน่าเปื่อยผุพังไปแล้วนานๆตามผิวดิน และใช้อินทรีย์วัตถุเน่านั้นเป็นอาหารด้วย เช่น กล้วยไม้สกุลไฟอัส (Phaius) คือ เอื้องพร้าว , สกุลฮาเบนาเรีย (Habenaria) ได้แก่ ลิ้นมังกร , สกุล Ludisia ได้แก่ ว่านน้ำทอง และ สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum) เป็นต้น
2) ประเภทกล้วยไม้อากาศ กล้วยไม้ประเภทนี้ มักจะทรงต้นอยู่ได้ด้วยการใช้รากเป็นจำนานมาก อาศัยเกาะอยู่ตามต้นไม้ กิ่งไม้ คบไม้ และบางชนิดเกาะอยู่กับก้อนหินก็ได้ กล้วยไม้อากาศเหล่านี้ ไม่ได้ดูดน้ำเลี้ยง หรือแบ่งอาหาร โดยการทำลายหรือทำอันตรายแก้ต้นไม้ที่มันเกาะ มันเพียงแต่เกาะอยู่เพื่ออาศัยเท่านั้น
อาหารส่วนใหญ่ของกล้วยไม้รากอากาศ ได้แก่ แร่ธาตุต่างๆที่มีอยู่ในอากาศ เพราะกล้วยไม้จำพวกนี้มีระบบรากพิเศษ สามารถดูดแร่ธาตุอาหารที่มีอยู่ในอากาศได้ นอกจากนี้ยังได้พวกอินทรีย์วัตถุต่างๆ ที่เน่าเปื่อนผุพังไปแล้ว ได้แก่ พวกเปลือกไม้ หรือไม้ที่ผุแล้ว เป็นอาหารอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่ง ได้แก่ กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) , สกลุแวนด้า (Vanda) , สกุลเข็ม (Ascocentrum) , สกุลช้าง (Ryhnchostylis) เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น