วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการเพาะพันธุ์กล้วยไม้และสาระน่ารู้








สาระน่ารู้ :การปลูกกล้วยไม้อย่างไรให้ออกดอกสวยงามและไม่ตาย



ปลูกกล้วยไม้จะปลูกอย่างไรให้มีความสุข เป็นทั้งอาหารตาและอาหารใจ ไปร้านกล้วยไม้เห็นมีดอกสวยก็ซื้อหมดเท่าที่มีกำลังทรัพย์ แต่ลืมคิดว่ามีใครปลูกกล้วยไม้ให้ และมีเวลาว่างพอจะปลูกหรือไม่ มีแสงสว่างพอที่ต้นกล้วยไม้จะได้รับแสงหรือเปล่า
เรามาเรียนรู้ชนิดของกล้วยไม้ก่อนว่าอยากปลูกกล้วยไม้แบบไหน
1. รากอากาศ
2. รากกึ่งอากาศ
3. กล้วยไม้ดิน
1. รากอากาศ (Epiphytic Orchid) รากค่อนข้างใหญ่ ไม่จะเป็นต้องมีเครื่องปลูกก็ได้ เช่น
สกุลแวนดา (Vanda) สกุลเดิม เช่น แวนดาฟ้ามุ่ย (V. Coerulea)
สกุลแอสโคเซนดา (Ascocenda) ลูกผสมระหว่างสกุลแวนดา กับ สกุลแอสโคเซนตรั้ม (Ascocentrum)
สกุลมอคคารา (Mokara) ลูกผสมระหว่าง สกุลอะแรคนิส (Arachnis) กับสกุลแอสโคเซนดา
สกุลคากาวารา (Kagawara) ลูกผสมระหว่าง สกุลรีแนนเธอรา (Renanthera) ผสมกับสกุลแอสโคเซนดา
สกุลอะแรนดา (Aranda) ลูกผสมระหว่างสกุลอะแรคนิส กับ สกุลแวนดา
สกุลช้าง (Rhynchostylis) ช้างกระ (Rhinchostylis gigantean) ช้างแดง (Rhynchostylid gigantean var. devara junii) ช้างเผือก (Rhynchostylid gigantean var. petoriana) เป็นต้น
2. รากกึ่งอากาศ (Semi - Epiphytic Orchid) ควรมีเครื่องปลูก เช่น ถ่าน กาบมะพร้าว อิฐมอญทุบ กระถางแตก เป็นต้น เช่น สกุลหวาย (Dendrobium) สกุลแคทลียา (Cattaleya) สกุลออนซิเดียม (Oncidium) สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum) สกุลฟาแนนอพซิส (Phalaenopsis)สกุลแกรมมาโตฟิลลัม (Grammatophyllum) เป็นต้น
3. กล้วยไม่ดิน (Terrestrial Orchid) ส่วนใหญ่มักเป็นหัว ฝังอยู่ในดินโปร่ง เช่น นางอั้ว สาคริก (Pacteillis sagarikii) ลิ้นมังกร (Habenaria) ว่านร่อนทอง (Ludisia discolor) เหลืองพิศมร (Spathoglottis lobbii) เป็นต้น
กล้วยไม้เจริญเติบโต รูปแบบ
1. เจริญเติบโตไปทางยอด (Monopodial) ต้นจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ สูงหลายเมตร เช่น แวนด้าเอื้องโมก (Vanda teres) ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้รากอากาศ
2. เจริญเติบโตเป็นกอ (Sympodial) เช่น สกุลหวาย สกุลคัทลียา สกุลออนซิเดียม สกุลแกรมมา โตฟิลลัม เป็นต้น
กล้วยไม้จะออกดอกหรือจะเจริญเติบโตได้ดี ยังแบ่งชนิดกล้วยไม้ตามสภาพภูมิอากาศ เช่น
1. กล้วยไม้เขตร้อน (Tropical Orchid) เช่น สกุลแวนด้า แอสโคเซนดา มอคคารา สกุลหวายบางชนิด
2. กล้วยไม้เขตกึ่งร้อน (Sub - Tropical Orchid) เช่น สกุลคัทลียาบางชนิด สกุลหวายบางชนิด สกุลออนซิเดียมบางชนิด
3. กล้วยไม้เขตกึ่งหนาว (Intermediate Orchid) เช่น กล้วยไม้สกุลซิมมิเดียมบางชนิด (Cymbidum) สกุลออนซิเดียมบางชนิด สกุลมิลโทเนีย (Miltonia) เป็นต้น
4. กล้วยไม้เขตหนาว (Temperate Orchid) เช่น สกุลซิมมิเดียมบางชนิด ส่วนใหญ่อยู่ตามที่สูงอากาสหนาวเย็น
องค์ประกอบสำคัญในการปลูกกล้วยไม้ให้งามและออกดอก คือ
1. แสงสว่าง
2. อุณหภูมิ
3. ความชุ่มชื้น
4. สิ่งแวดล้อม
5. ผู้ปลูกเลี้ยง
น้ำรดต้นกล้วยไม้
น้ำใสสะอาดมีความเป็นกรด - ด่าง (pH ประมาณ 5.5 - 7) ค่า pH ต่ำกว่า มีความเป็นกรด ถ้าค่า pH สูงกว่า มีความเป็นด่าง ควรใช้กรดไนตริกเพื่อช่วยลดค่า pH แต่สำคัญคุณสมบัติของน้ำต้องรู้ค่าของประจุไฟฟ้า (EC. คือ Electrical Conductivity) อยู่ประมาณ 200 ถ้าเกินกว่า 600 จะทำให้ต้นกล้วยไม้ไม่แข็งแรง สามารถนำน้ำไปตรวจคุณสมบัติได้ที่ กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร อยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรบางเขน โทร 0-2579-8600 น้ำบาดาลส่วนใหญ่จะมีค่า pH สูงถึง และค่า EC ประมาณ 600 ฉะนั้นถ้าใช้น้ำแม่น้ำ หรือน้ำคลองชลประทานจะดี น้ำตก น้ำตามไหล่เขา น้ำใสแต่ค่า pH สูง ถ้าน้ำคลองขุ่นต้องผ่านระบบกรองน้ำ การให้น้ำควรให้น้ำตอนเช้าก่อนแสงแดดจัด แสงสว่างจะช่วยต้นกล้วยไม้ในการปรุงอาหารได้ดี

........................................................................ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น